Togetherness Story

ถอดเบื้องหลังความสำเร็จ 2 ซูเปอร์แอป dtac app และ True iService ที่พัฒนาจากความหลากหลายเชิงประสบการณ์
True Blog 23 มิ.ย. 2566
  • dtac app แอปพลิเคชันศูนย์กลางของทุกการปฏิสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและดีแทค ที่มาพร้อมกลยุทธ์การสร้างรายได้จากการทำตลาดเฉพาะตัว
  • True iService แอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นด้วยความใส่ใจทุกขั้นตอน เพื่อให้ลูกค้าสามารถให้บริการตนเองได้แบบอัตโนมัติ

 

บทวิจัยของ Harvard Business School ระบุว่า หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จ คือ “ความหลากหลาย” ความหลากหลายนี้ ไม่ได้หมายความเพียงความหลากหลายที่ติดตัวมาแต่กำเนิด (Inherent diversity) แต่ยังหมายรวมถึงความแตกต่างที่เกิดจากขึ้นจากภูมิหลังและประสบการณ์ (Acquired diversity)

 

True Blog ขอพาทุกท่านไปรู้เบื้องหลังเรื่องราวความสำเร็จของ 2 นวัตกรรมซูเปอร์แอป ได้แก่ dtac app และ True iService นั้น กว่าจะเป็นวันนี้ ต้องอาศัยปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงคุณค่าแห่งความแตกต่างหลากหลายในการทำงาน

 

dtac app กับภารกิจดีทั่วดีถึง

 

ทิพอาภา สุขสถิตย์ หัวเรือใหญ่ผู้พัฒนา dtac app ฉายภาพความสำเร็จของ dtac app ให้ฟังว่า dtac app ได้รับการพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี 2553 โดยมีเป้าหมายให้เป็น “ศูนย์กลางของทุกการปฏิสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและดีแทค” ซึ่งพัฒนามาถึงเวอร์ชันที่ 10 แล้ว จากจุดเริ่มของ dtac app นั้นส่งผลให้ปัจจุบันดีแทคมีลูกค้าที่ใช้งานดิจิทัลต่อเดือน (MAU: Monthly Active Users) ที่ 8.4 ล้านราย (ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2566) เติบโตจากสิ้นปี 2565 ที่ 7.7 ล้านราย โดยเป้าหมายสิ้นปีนี้อยู่ที่ 10 ล้านราย ซึ่งถือว่ามีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ

 

ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ dtac app มีอัตราการเติบโตสูง คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 50% ของฐานลูกค้า ประกอบด้วย 3 ปัจจัย

  1. Capability ความสามารถของแอปที่มากขึ้น โดยเฉพาะ dtac Beyond ฟีเจอร์รวมสินค้าและบริการดิจิทัลที่หลากหลายมากขึ้นมากกว่าบริการโทรคมนาคม และเป็น One Stop Service เช่น Gaming Nation ที่ให้ลูกค้าสามารถเติมไอเท็มเกมภายในเเอป จากเดิมที่ต้องออกไปยังเว็บไซต์ อำนวยความสะดวกให้เหล่าเกมเมอร์มากขึ้น
  2. Exclusivity สิทธิพิเศษที่แตกต่างที่ dtac app มอบให้กับผู้ใช้งาน ตัวอย่างเช่น ลูกค้าจะได้รับเงินพิเศษเป็น 150 บาท เมื่อเติมเงิน 130 บาท ผ่าน dtac app และสำหรับลูกค้าใหม่ที่ดาวน์โหลดแอปจะได้รับ 30 coins ทันที
  3. Offers บริการใหม่ที่ตรงใจมากขึ้น ซึ่งถือเป็น Killer feature ของปีที่ผ่านมา คือ dtac Facebook Autoflex บริการยืมเน็ตผ่าน Facebook ซึ่งเป็นบริการที่พัฒนาร่วมกันระหว่าง Telenor Digital, Meta และดีแทค ซึ่งในฟีเจอร์นี้ช่วยดึงดูดกลุ่ม “ลูกค้าใจดีให้ยืมเน็ต” ให้เข้ามาใช้งาน ทำให้ในปี 2565 มีผู้ใช้งานดิจิทัลเพิ่มขึ้น 24%

 

ความหลากหลายเชิงประสบการณ์

 

 

ด้าน ภัทรวดี ลีกุลพิทักษ์ Head of Growth ของ dtac app อธิบายเบื้องหลังความสำเร็จที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของลูกค้าดีแทคว่ามาจากหนึ่งในปัจจัยสำคัญ คือ “ความแตกต่าง” ซึ่งไม่ใช่เพียง Inherent diversity หรือความหลากหลายที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด เช่น เพศ ชาติพันธุ์ เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง Acquired diversity ความแตกต่างที่เกิดจากขึ้นจาก “ประสบการณ์” ในบริบทของการพัฒนาแอปให้เป็นที่นิยม มีผู้ใช้งานหลักหลายล้านนี้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลากหลายแผนก อาศัยองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญหลากหลายศาสตร์ ไม่ใช่เพียงแค่การโค้ดดิ้ง ไอที แต่ยังต้องอาศัยความเป็น “มนุษย์” สื่อสารให้เข้าใจ ออกแบบการใช้งานให้ง่ายที่สุด

 

ทิพอาภา เล่าภาพทิ้งท้ายว่า สำหรับปีนี้ กลยุทธ์สำคัญยังคงเป็นเรื่องการของการเพิ่มความสามารถของแอปโดยเฉพาะในส่วนของ dtac Beyond ซึ่งเป็นบริการอื่นนอกเหนือจากบริการโทรคมนาคม นอกจากนี้ ยังจะเน้นไปที่การสร้างรายได้ (monetization) ผ่าน dtac app ผ่านการทำการตลาดเฉพาะตัว (personalization) โดยร่วมมือกับทีม Customer Value Management นำพฤติกรรมการใช้งานกับพฤติกรรมการซื้อมาวิเคราะห์ร่วมกัน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้มีการปกป้องข้อมูลและปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ PDPA เพื่อให้ลูกค้าแบรนด์ดีแทคสามารถเข้าถึงบริการที่ดีที่สุด

 

กว่าจะเป็น True iService

 

อีกหนึ่งบริการที่ประสบความสำเร็จให้ลูกค้าเลือกใช้บริการได้อย่างอิสระเต็มที่ด้วยตัวเอง ก็คือ True iService ที่มีผู้ใช้งานทั้งสิ้นราว 5.2 ล้าน MAU ( Monthly Active Users) อัตราการเติบโตที่ 12% ต่อปี โดยมุ่งเน้นให้ลูกค้าสามารถให้บริการตนเองได้แบบอัตโนมัติ ครอบคลุมทั้งบริการก่อนและหลังการขายของผลิตภัณฑ์ทรู อาทิ การตรวจสอบยอดบิลและชำระค่าบริการ การเปิดใช้งานและลงทะเบียนหมายเลขโทรศัพท์ การซื้อแพกเกจเสริมสำหรับโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตบ้าน และการแก้ไขปัญหาการใช้งานเบื้องต้น

 

 

นพวรรณ โพธิ์งามวงศ์ หัวเรือใหญ่ของ True iService อธิบายว่า True iService เป็นแอปที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์บริการแบบครบวงจรทั้งก่อนและหลังการขายของผลิตภัณฑ์ทรู ได้แก่ TrueMove H, True Online และ TrueVisions โดยเมื่อกลางปี 2565 ที่ผ่านมา มีการปรับปรุงยกระดับการให้บริการภายในแอปครั้งใหญ่ เพื่อให้ลูกค้ามีประสบการณ์ในการใช้งานบนแอปที่ดีและสะดวกยิ่งขึ้น

 

ในปัจจุบัน True iService มีจุดเด่นเรื่องของการตอบโจทย์บริการหลังการขายให้ลูกค้าสามารถจัดการบริการต่าง ๆ ได้เองตลอด 24 ชั่วโมง โดยทีมงานได้เพิ่มขีดความสามารถแชทบอท AI  “มะลิ” ให้ฉลาดยิ่งขึ้น  สามารถแนะนำบริการและแก้ไขปัญหาลูกค้าเบื้องต้น ตลอดจนแก้เหตุขัดข้องทางเทคนิค รวมทั้งมีบริการ Network Excellence On-hand ที่ช่วยตรวจสอบสัญญาณและแก้ปัญหาได้ทันที บริการ Pay for Others สำหรับจัดการบิลหรือเติมเงินให้คนในครอบครัวหรือผู้อื่นได้ บริการ Digital eSIM ที่ลูกค้าสามารถเปิด eSIM เบอร์ใหม่ หรือเปลี่ยนซิม โอนย้ายในเครื่องได้เอง รวมถึงบริการ Caller ID Block สำหรับบล็อกเบอร์โทรที่ไม่ต้องการหรือไม่รู้จัก ซึ่งบริการที่ครบวงจรในแอป True iService นี้ ช่วยเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าและลดจำนวนสายลูกค้าที่ติดต่อเข้าคอลเซ็นเตอร์ได้ถึง 15% ในปี 2565

 

“ความท้าทายของ True iService คือการพัฒนาแอปให้ครอบคลุมทุกบริการของทรู ทั้ง mobile และ non-mobile ดังนั้น การใช้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (customer centricity) จึงถือเป็นหลักคิดสำคัญของการพัฒนา True iService” นพวรรณกล่าวและเสริมว่า ที่ผ่านมาล้มลุกคลุกคลานนับไม่ถ้วน แต่ทั้งหมดคือการเรียนรู้ เพื่อให้บริการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามากที่สุด

 

ความหลากหลาย: เบื้องหลังการพัฒนาเทคโนโลยี

 

ด้าน รฐา ศรีวัฒรางกูร Senior Product Owner ผู้รับผิดชอบด้านออกแบบแอปพลิเคชัน เล่าเบื้องหลังการพัฒนาว่า กว่าจะมาถึงทุกวันนี้ได้ ทีม True iService ที่ประกอบด้วยคนที่มีความหลากหลายด้านความรู้และประสบการณ์ต่างต้องทำงานกันอย่างหนัก ลงไปสอบถาม คลุกคลีกับลูกค้าหน้าร้านและพนักงาน True Shop ร่วม 3 เดือน เพื่อให้ทีมเข้าใจ journey การใช้งานและความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง

 

“การทำงานกับผู้คนที่มีภูมิหลังที่หลากหลาย ทำให้วิธีคิดและมุมมองต่อปัญหาต่างกัน ดังนั้น การสื่อสารและความเข้าใจคนทำงานด้วยกันจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จ เพราะบางครั้ง แม้จะเป็นคำเดียวกัน แต่การตีความนั้นก็อาจคลาดเคลื่อนหรือแตกต่างกันได้ จึงจำเป็นต้องรีเช็กความเข้าใจทุกครั้ง” นพวรรณกล่าวว่า เธอเป็นคนหนึ่งที่มีพื้นฐานมาจากวิศวกร ดังนั้นการมองปัญหาและวิธีแก้ไขจะมองแบบวิศวกร แต่การทำงานกับคนหลากหลายทำให้เข้าใจมุมมองของทีมงานที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน

 

ในภาพกว้าง เธอทั้ง 4 คนให้มุมมองในทิศทางเดียวกันว่า ปัจจัยสำคัญของเทคโนโลยีคือ “ความเป็นมาตรฐาน” (standardization) ซึ่งจะเกิดขึ้นจากมุมมองและความร่วมมือกัน (collaboration) ที่แตกต่างหลากหลายของผู้พัฒนาและผู้ใช้งาน ซึ่งท้ายที่สุด เทคโนโลยีนี้เองที่เป็นเครื่องมือในการ “เชื่อม” ความแตกต่างของคนในสังคมให้มีความเป็นหนึ่งเดียวกัน

 

อ่านต่อ
คุยกับทีม TrueID กับภารกิจที่ไม่เคยหยุดนิ่ง ท่ามกลางความท้าทายในสมรภูมิ Streaming Platform ในประเทศไทย
True Blog 12 มิ.ย. 2566

รายงานข้อมูลเชิงลึกและการวิเคราะห์ผู้บริโภควิดีโอออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อง Media Partners Asia (MPA) บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยตลาดสื่อระบุว่า ในปี 2023 สตรีมมิ่งแพลตฟอร์มต่างๆ ในภูมิภาคนี้มีแนวโน้มที่จะมุ่งเน้นไปที่การรักษาฐานลูกค้า การจัดการรับมือกับลูกค้าที่จะเลิกใช้บริการ รวมถึงการปรับขึ้นราคาค่าบริการ เป็นสำคัญ

 

อย่างไรก็ดี MPA ได้เสนอรายงานวิดีโอออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไตรมาสที่ 1 ปี 2023 โดยระบุว่า TrueID เป็นหนึ่งในสตรีมมิ่งแพลตฟอร์มที่มีการเติบโตในประเทศไทย โดยจับกลุ่มผู้ชม Video On Demand แบบพรีเมียมในไตรมาสที่ 1 ได้ถึง 30% ซึ่งเป็นผลจากการคอนเทนต์การแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ที่ถือเป็นจุดเด่นสำคัญของแพลตฟอร์ม

 

True Blog ขอพาทุกท่านไปพูดคุยกับทีมงาน TrueID ที่พร้อมมาเล่าถึงกลยุทธ์การทำงานและภารกิจที่ไม่เคยหยุดนิ่งท่ามกลางความท้าทายในสมรภูมิ Streaming Platform ในประเทศไทย โดยมีคีย์สำคัญคือ การสร้างความแตกต่างและหลากหลายให้โดดเด่นในตลาด ทั้งในแง่ของคอนเทนต์ บริการ ที่ตั้งใจส่งมอบคุณค่าและประสบการณ์เพื่อผู้ใช้งานในประเทศไทยโดยเฉพาะ

 

Local Player ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานไทยได้ตรงใจ


“ถ้าเทียบกันในตลาด TrueID ถือเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่ติดอันดับผู้นำในตลาด โดยมีจุดเด่นในด้านคอนเทนต์ที่มีมากกว่าวิดีโอสตรีมมิ่ง ไม่ว่าจะเป็นสตรีมมิ่ง ไลฟ์ทีวี VOD (Video On Demand) เพลง ไปจนถึงข่าวและบทความ และที่สำคัญคือ การคัดสรรคอนเทนต์ได้ตรงใจผู้ใช้งานชาวไทยมากที่สุด” ณฐาศิริ ธนภัทรเธียรเลิศ Strategic Synergy Lead ของ TrueID เริ่มต้นด้วยการอธิบาย Position ในตลาด

 

 

 

ปัจจุบันแอปพลิเคชัน TrueID มีผู้ใช้งานต่อเดือน (MAU: Monthly Active Users) 36 ล้านราย (พฤษภาคม 2023) เติบโตจากช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 ในปี 2019 ที่มี MAU เพียง 10 ล้านราย โดยสัดส่วนผู้ใช้งานปัจจุบันแบ่งเป็นฐานลูกค้าทรู 75 เปอร์เซ็นต์ และผู้ใช้งานทั่วไป 25 เปอร์เซ็นต์


ทั้งนี้ จุดแข็งที่ TrueID ก้าวมาอยู่ในอันดับต้น ๆ ในสมรภูมิสตรีมมิ่งแพลตฟอร์มของประเทศไทย มาจากกลยุทธ์ด้านคอนเทนต์ดังต่อไปนี้

 

 

1. Partnership การการผนึกกำลังกับพันธมิตรอย่าง True Visions Now ที่เป็นผู้นำด้านคอนเทนต์กีฬาในตลาด ทำให้มีการถ่ายทอดรายการกีฬาระดับโลก อาทิ English Premier League, beIN Sports โดยคอนเทนต์กีฬาถือเป็นหนึ่งในคอนเทนต์ที่ผู้ชมในประเทศนิยม วัดได้จากช่วงฟุตบอลโลก 2022 ที่มียอดผู้ชมจาก TrueID สูงสุดถึง 42 ล้านคน


2. Exclusive Content คอนเทนต์เอ็กซ์คลูซีฟ ทั้งคอนเทนต์ลิขสิทธิ์และการผลิต Original Series โดยความร่วมมือกับ True CJ Creation (บริษัทร่วมทุนระหว่าง True Visions Group และ CJ ENM จากเกาหลีใต้) เช่น ซีรีส์เรื่อง 23:23 สัญญาสัญญาณ 


3. Localization การพากย์ภาษาไทยในคอนเทนต์เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ เพื่อรองรับกลุ่มผู้ชมไทยในระดับ Mass ให้เข้าถึงคอนเทนต์ต่างประเทศได้ง่าย และมีความเสมอภาค ไม่มีอุปสรรคด้านภาษา 


4.Personalization การคัดสรรคอนเทนต์ตรงความสนใจผู้ใช้งานเฉพาะบุคคล โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย AI โดยมีการแบ่งกลุ่มไว้ถึง 10 Persona Segments นั่นคือ Fan Ball, Anime Mania, Reality Fan, True Smart, Live Streamer, Reward Seeker, Trend Rider, Series Addict, Premium Streamer และ Casual Streamer  


Super App ที่เปิดกว้างให้ทุกคนเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม

 

 

แอปพลิเคชัน TrueID พัฒนาขึ้นเพื่อเป็น Super App ที่เปิดกว้างให้ผู้ใช้งานทุกคนเข้าถึงได้อย่างสะดวกสบายผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งหากเป็นลูกค้าของทรูจะใช้งานได้ใน Ecosystem ที่ครบภายในแอปพลิเคชันเดียว ทั้งการเข้าถึงคอนเทนต์ การแลกรับสิทธิพิเศษจาก True You การชำระค่าบริการที่สะดวกด้วยการจ่ายผ่าน True Money Wallet การช้อปปิ้งที่เชื่อมโยงไปถึงพาร์ตเนอร์ต่าง ๆ ไปจนถึงการโทรและแชต (Call & Chat) ที่เป็นบริการที่ใช้ประโยชน์ของการเป็นบริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยี 

 

ด้วยเหตุนี้จึงมีการพัฒนาแอปพลิเคชันโดยคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้ใช้งานทุกกลุ่ม เพื่อให้เข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยพยายามลดความยากในการใช้งาน พร้อมกับการปรับปรุงให้สอดรับกับสภาพสังคมของผู้ใช้งานในปัจจุบันที่หลากหลาย

 

“ตอนนี้เราเพิ่มเมนูภาษาพม่าเพิ่มเข้ามาในหน้าการใช้งาน เพราะมีผู้ใช้งานเป็นพี่น้องชาวพม่าจำนวนมากที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย เราพยายามตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้งานกลุ่มนี้ด้วย อีกส่วนหนึ่งคือการพยายามทำให้ฟีเจอร์หลายอย่างง่ายมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานกลุ่มผู้สูงวัยที่เป็นกลุ่มที่มีมากขึ้นเช่นกัน” ณฐาศิริกล่าว

 

ก้าวไปสู่การเป็น Content Aggregator

 

“TrueID ต้องปรับตัวให้ไว” คือสไตล์การทำงานที่ณฐาศิริเน้นย้ำ พร้อมเผยถึงก้าวต่อไปของ TrueID ว่า “ในอนาคตอันใกล้คือมุ่งไปสู่การเป็น Content Aggregator ที่ผนึกกำลังกับพาร์ตเนอร์เพิ่มมากขึ้น เพื่อคัดสรรและรวบรวมบริการที่หลากหลายไว้ด้วยกัน สร้างความได้เปรียบในด้านสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากพันธมิตร รวมถึงความได้เปรียบในการแข่งขันด้านราคา ที่สามารถเสนอแพ็คเกจในลักษณะ Bundle ที่คุ้มค่าและมีทางเลือกหลากหลาย เพื่อดึงดูดลูกค้าหลายกลุ่ม รวมถึงเป็นการลดอัตราการเลิกเป็นลูกค้า (Churn Rate) ของกลุ่มลูกค้าเดิมอีกด้วย”

 

 

นอกจากนี้ยังมีการวางกลยุทธ์ในการโปรโมทคอนเทนต์ต่าง ๆ ของแพลตฟอร์มผ่านรูปแบบของ Short Form Content ตามเทรนด์ความนิยมของผู้ใช้งานยุคนี้ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสการมองเห็นและนำเสนอสินค้าและบริการได้มากขึ้น และนำมาสู่การสร้างรายได้ให้กับแพลตฟอร์ม “เราสังเกตเห็นว่าช่วงที่ไม่กี่ปีที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ Short Form Content ได้รับความนิยมมาก เรากำลังจะทำคอนเทนต์สั้น ๆ แบบนี้ให้ผู้ใช้บริการได้เลื่อนดู เหมือนเป็นไฮไลต์ แล้วถ้าชอบก็สามารถกดดูคอนเทนต์ตัวเต็มได้ทันที” ณฐาศิริกล่าว

 

อีกหนึ่งความแตกต่างที่ TrueID มีมากกว่าคู่แข่งในตลาด คือการมีฟีเจอร์ Community ในลักษณะของ User-Generated Content (UGC) โดยผู้ใช้งานในชุมชนนี้จะมีการสร้างคอนเทนต์ที่สดใหม่ หลากหลายอย่างต่อเนื่อง นับเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมกับแพลตฟอร์ม ส่งเสริมการเป็นส่วนหนึ่งกับแบรนด์และชุมชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อกลยุทธ์การเป็น Content Aggregator ที่ผู้ใช้งานจะสามารถรีวิวหรือแนะนำคอนเทนต์และบริการในแพลตฟอร์มให้กันในชุมชนได้ รวมถึงการสร้างความน่าเชื่อถือและความมั่นใจที่จะดึงดูดผู้ใช้งานใหม่เข้ามามากขึ้น

 

ความหลากหลายของทีมงาน: เบื้องหลังการสร้างสรรค์คอนเทนต์และนวัตกรรมที่ตรงใจ

 

เบื้องหลังการทำงานของทีม TrueID ที่ต้องตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้ใช้งานที่มีความแตกต่างหลากหลาย มาจากการรวมตัวของทีมงานกว่า 200 ชีวิตที่มีทักษะความถนัดในการทำงานที่แตกต่าง ซึ่งมาพร้อมความหลากหลายเฉพาะบุคคล ทั้งในด้านวัย เพศ พื้นเพ ความสนใจ ความหลากหลายนี้กลายเป็นสิ่งเติมเต็มความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาบริการใหม่ๆ  โดยทุกมุมมอง ประสบการณ์ และความคิดเห็นของทีมงาน คือตัวแทนเสียงของผู้ใช้งานในตลาดได้ทั้ง 10 Persona Segments ที่วางไว้  นอกเหนือจากนั้นยังสร้างความเข้าใจในการทำงานกับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายในองค์กรเช่นกัน

 

พสธร สุวรรณศรี Data Scientist จากส่วนงาน Digital Growth Insight ผู้รับผิดชอบงานด้านข้อมูลในระบบหลังบ้าน ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่ได้มีการปกป้องข้อมูลและปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือ PDPA เล่าว่าการทำงานกับทีมที่ภูมิหลังและประสบการณ์การใช้ข้อมูลที่แตกต่างกัน ทำให้ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการจัดเตรียมข้อมูลให้เหมาะกับสายงานต่าง ๆ เพื่อให้ทุกฝ่ายนำไปต่อยอดสร้างสรรค์งานได้ตรงตามความต้องการมากขึ้น

 

 “เราต้องตีโจทย์ให้ได้ก่อนว่า เขาจะนำข้อมูลนั้นไปใช้งานอะไรต่อ เพื่อนำเสนอรูปแบบข้อมูลนั้นในแบบที่เขาจะเข้าใจได้ในครั้งเดียว บางทีมอาจจะใช้ข้อมูลที่เป็น Raw data ได้ แต่บางทีมควรใช้ชุดข้อมูลที่ย่อยง่ายและนำเสนอไปตามลำดับ” นอกจากนี้ พสธรเล่าว่า การได้ร่วมงานกับหลากหลายทีมที่มีหน้าที่ต่างกัน ทำให้เขาเข้าใจมุมมองของงานในหลากหลายมิติ และช่วยให้เขาเชื่อมต่อประสบการณ์และมองเห็นภาพใหญ่ขององค์กรได้อย่างชัดเจน

 

 

ด้าน จิราพัชร ใจเย็น Associate Product Owner และ รัฐมณฑน์ ฑีฆวาณิช Senior Product Owner ที่รับผิดชอบดูแลฟีเจอร์ Community ซึ่งเน้นการทำงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ต่างเล่าว่า การทำงานกับคนที่มีความหลากหลายช่วยจุดประกายความคิดในการริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ ในงานได้เสมอ ยิ่งเมื่อองค์กรเปิดกว้างและส่งเสริมให้ทุกคนได้กล้าแสดงความเป็นตัวเองในทุกมิติ ที่ทำงานก็กลายเป็นพื้นที่สบายใจที่ทำงานก็กลายเป็นพื้นที่สบายใจ

 

“เราทำงานกันอย่างให้เกียรติกัน เชื่อมั่นว่าแต่ละคนมีความสามารถที่สุดในส่วนงานที่เขาทำอยู่ ทุกคนก็ได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่ และเมื่อเปิดกว้างรับฟังกัน ก็นำมาต่อยอดสร้างสรรค์งานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด” จิราพัชรสรุปทิ้งท้าย

 

 

 

อ่านต่อ
SNAPSHOTS: เปิดภาพเบื้องหลังสุดเอ็กซ์คลูซีฟ จากงาน Better Together Festival แถลงภาพทรูคอร์ป 2 เดือนหลังควบรวม
True Blog 09 พ.ค. 2566

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้จัดงานแถลงเปิดตัวกิจกรรมโรดโชว์ Better Together Festival พร้อมฉายภาพองค์กร 2 เดือนหลังควบรวม เปิดเกมรุกตลาดไตรมาส 2 สร้างบรรยากาศการแข่งขันที่เข้มข้นยิ่งขึ้น ในโอกาสนี้ True Blog ได้เลือกเฟ้น 8 ภาพเบื้องหลังสุดเอ็กซ์คลูซีฟที่บอกเล่าหลากหลายอารมณ์ความประทับใจ ภายใต้แนวคิด “ชีวิตดีกว่า เมื่อมีกันและกัน (Better Together)” โดยงานนั้นจัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2566

 

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://dtacblog.co/nai-baifern-2/

 

 

 

 

 

 

 

 

อ่านต่อ
แรงบันดาลใจ ความฝัน อุปสรรค: ฟังเสียง 3 เยาวชนหญิงกับความท้าทายในการเข้าสู่วงการเทคโนโลยี
True Blog 27 เม.ย. 2566

สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ITU ได้กำหนดให้ทุกวันพฤหัสบดีที่ 4 ของเดือนเมษายน เป็นวัน Girls in ICT Day เพื่อร่วมสร้างแรงบันดาลใจและผลักดันให้เยาวชนหญิงเข้าสู่สนามการทำงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและคณิตศาสตร์หรือที่เรียกว่า STEM (Science, Technology, Engineering and Mathematics) มากยิ่งขึ้นท่ามกลางความเหลื่อมล้ำดิจิทัลในมิติทางเพศ โดยในปีนี้ Girls in ICT Day ตรงขึ้นกับวันที่ 27 เมษายน 2566 และกำหนดขึ้นภายใต้แนวคิด “ทักษะดิจิทัลเพื่อชีวิต” (Digital Skills for Life)

 

เราได้พูดคุยกับ 3 สาวเยาวชนคนเก่งที่ได้ร่วมสมัครเข้าค่าย Young Safe Internet Leaders Hybrid Camp ปี 5 ซึ่งปีนี้จัดขึ้นที่สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ถึงสถานการณ์ปัจจุบัน ความสนใจ และแรงบันดาลใจในการเข้าสู่วงการเทคโนโลยีของพวกเธอ

 

 

ณัชชา เงาประเสริฐวงศ์ นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) วิชาเอก วิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ (E-AI) กล่าวว่า แรงบันดาลใจที่ทำให้เธอหันมาสนใจด้านเทคโนโลยีนั้นมาจากคนใกล้ตัวอย่างคุณแม่ของเธอ ผู้ซึ่งคลุกคลีอยู่ในสายงาน cybersecurity ซึ่งณัชชาเองมีความสนใจในสายงานดังกล่าว เพราะมองว่างานด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์จะเป็นที่ต้องการของอุตสาหกรรมต่างๆ และตลาดแรงงานอย่างมากในอนาคต ทั้งนี้ เธอมองว่าปัญญาประดิษฐ์หรือ AI นั้นเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาและต่อยอดสู่นวัตกรรมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการเขียนโค้ด การทำแอปพลิเคชัน การควบคุมหุ่นยนต์ ไปจนถึงการยกระดับงานด้าน cybersecurity ด้วย

 

 

ด้าน กชพร เนียวกุล นักเรียนชั้น ม.6 สายวิทย์-คณิต จากโรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ เล่าว่า เธอมีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์มาตั้งแต่ตอนเรียนอยู่ชั้น ม.3 ขณะนั้นเธอหักโหมออกกำลังกาย ลดน้ำหนักมาก จนร่างกายเข้าภาวะอันตราย เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นจุดเปลี่ยนทำให้เธอต้องการเข้าใจการทำงานของร่างกายให้ลึกซึ่งยิ่งขึ้น จึงได้เลือกเรียนสายวิทย์-คณิต โดยเธอมีความสนใจเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เช่นเดียวกับ ฐิติรัตน์ จันหอม นักเรียนชั้น ม.5 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี สายวิทย์-คณิต ผู้ซึ่งมีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพเป็นทุนเดิม มีความใฝ่ฝันอยากเป็นหมอ จึงเลือกเรียนสายวิทย์-คณิต

 

 

อุปสรรคของผู้หญิงในอุตสาหกรรมเทคฯ

 

แม้ประเทศไทยจะมีความก้าวหน้าเชิงเสรีภาพในการเลือกประกอบอาชีพมากชึ้น โดยจากรายงานเรื่อง STEM Education for Girls and Women: Breaking Barrier and Exploring Gender Inequality in Asia ทาง UNESCO ระบุว่า ประเทศไทยมีนักวิจัยด้าน STEM ที่เป็นเพศหญิงสัดส่วนสูงถึง 53% นำหน้าประเทศพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่นที่ 15% และเกาหลีใต้ที่ 18% แต่เมื่อพิจารณา STEM ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัลหรือวิศวกรรมแล้ว กลับพบว่า สัดส่วนการเลือกเรียนของผู้หญิงมีน้อยกว่าเพศชายมากอย่างมีนัยสำคัญ

 

 

“สายวิศวกรรมและเทคโนโลยี ผู้หญิงมีสิทธิเข้าถึงได้น้อยกว่า จากอุปสรรคต่างๆ ทั้งด้านทัศนคติของสังคมต่อผู้หญิงในสายวิศวกรรม การเข้าสู่ตลาดเเรงงาน ความเหลื่อมล้ำของรายได้ระหว่างเพศ ทำให้การเลือกเรียนสายวิศวกรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ ในผู้หญิงน้อยกว่าผู้ชายมาก” ฐิติรัตน์อธิบาย พร้อมกล่าวว่า ภาครัฐควรเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนในการผลักดันผู้หญิงเข้าสู่สนามแรงงานด้านเทคโนโลยีมากขึ้น ส่งเสริมการศึกษาด้านเทคโนโลยีในผู้หญิง เพื่อให้เทคโนโลยีถูกออกแบบให้สอดรับกับความต้องการของกลุ่มคนที่หลากหลายในสังคม

 

สอดรับกับความเห็นของณัชชาที่บอกว่า ในห้องเรียน E-AI ของเธอที่ถูกออกแบบมาเพื่อเตรียมความพร้อมศึกษาต่อในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องมีสัดส่วนผู้หญิงราว 1 ใน 3 ขณะที่จากประสบการณ์ของเธอในค่ายสตาร์ทอัพระดับมัธยมศึกษาพบว่า งานด้านเทคโนโลยีส่วนใหญ่ผู้ชายเป็นผู้พัฒนา ผู้หญิงดูแลเรื่องการบริหารจัดการ

 

 

“สังคมไทยยังค่อนข้างมีการเหมารวมในการประกอบอาชีพหรือ career stereotypes อยู่ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีที่ผู้ชายมีสัดส่วนสูงกว่าผู้หญิงมาก ซึ่งในความเป็นจริง ทุกเพศสามารถประกอบอาชีพตามความถนัดและความสนใจของตัวเองได้อย่างอิสระ ทุกคนต่างมีคุณค่าต่อสังคมในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป” ณัชชากล่าว

 

“การศึกษาด้าน STEM นั้นจำเป็นต้องบูรณาการหลายศาสตร์เข้าด้วยกัน จากการทำงานของผู้คนหลากหลายมุมมอง เพื่อพัฒนาเป็นนวัตกรรมและโซลูชันต่างๆ ซึ่งจะช่วยสร้างประโยชน์แก่ผู้คนจำนวนมาก” กชพรอธิบาย ก่อนจะเสริมว่า “เรามองว่าสังคมควรผลักดันหรือเปิดโอกาสให้ผู้หญิงได้เข้าสู่สนามเทคโนโลยีมากขึ้น ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมโดยไม่มีมิติทางเพศเป็นอุปสรรคในการเลือกสายการเรียนหรือการเข้าสู่ตลาด

เเรงงาน”

 

ทักษะดิจิทัลเพื่อชีวิต

 

ในโลกที่ก้าวสู่ดิจิทัลเต็มตัว วิทยาการล้ำสมัยพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เยาวชนทั้ง 3 คนให้ความเห็นพ้องกันว่าทักษะดิจิทัลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำเนินชีวิต โดยทักษะดิจิทัลที่สำคัญสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ทักษะพื้นฐานและทักษะขั้นสูง

 

 

ทักษะพื้นฐาน เป็นการส่งเสริมให้ผู้ใช้งานมีทักษะการรู้เท่าทันเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้อย่างสร้างสรรค์และรู้เท่าทันต่อภัยอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าภัยคุกคามออนไลน์มีมากมายหลากรูปแบบ เช่น การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ การหลอกลวง และการแสวงหาประโยชน์ทางเพศออนไลน์ เยาวชนทั้ง 3 คนจึงตัดสินใจสมัครร่วมแคมป์ YSLC ในปีนี้ เพื่อทำความเข้าใจรูปแบบความเสี่ยงบนโลกออนไลน์ต่างๆ โดยเฉพาะขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กบนช่องทางออนไลน์ พร้อมทั้งร่วมระดมความคิดออกแบบบริการสาธารณะ (public service design) เพื่อจัดการกับปัญหาการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กบนโลกออนไลน์และสื่อลามกเด็กออนไลน์

 

“เราเป็นคนหนึ่งที่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับ Online Sexual Exploitation ตอนนั้นอายุ 14 ปี เราเป็นคนที่ชื่นชอบความเป็นญี่ปุ่น และได้พูดคุยกับผู้ชายญี่ปุ่นทางออนไลน์ ซึ่งเขาชวนไปเจอที่โรงแรม แต่โชคดีที่ไหวตัวทัน จากเหตุการณ์นั้นจะเห็นได้ว่า ภัยออนไลน์ใกล้ตัวกว่าที่คิด และทุกคนอาจเป็นเหยื่อได้ หากขาดภูมิคุ้มและการรู้เท่าทันภัยออนไลน์” กชพรเล่า

 

นอกจากทักษะพื้นฐานแล้ว ทักษะขั้นสูง เช่น การเขียนโค้ด การพัฒนา AI หุ่นยนต์ ฯลฯ ยังถือเป็นสิ่งสคัญที่ช่วยเปิดโอกาสและต่อยอดในการทำงานมากขึ้น ซึ่งท้ายที่สุด การเปิดรับและให้โอกาสทุกคน ทุกเพศ ได้เข้ามาร่วมพัฒนาเทคโนโลยีจะช่วยก่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม

 

 

และนี่เป็นเสียงสะท้อนของเยาวชนหญิงในโครงการ YSLC ปีที่ 5 ในการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาวงการเทคโนโลยีของไทยให้ครอบคลุมทุกความต้องการมากขึ้น มาร่วมติดตามศักยภาพและไอเดียของผู้เข้าร่วมโครงการในการออกแบบบริการสาธารณะเพื่อ #ให้สื่อลามกเด็กจบที่รุ่นเรา ทาง True ฺBlog เร็วๆ นี้

อ่านต่อ
#HappyMonthsary หนึ่งเดือนที่ดีกว่าเมื่อมีกันและกัน ลูกค้าทรู-ดีแทคอิ่มเอมความสุขได้ไม่รู้จบ
True Blog 05 เม.ย. 2566

หนึ่งเดือนที่ผ่านมาหลังจากการผสานศักยภาพของทรู-ดีแทคสู่ความเป็นหนึ่ง ภายใต้ “ทรู คอร์ปอเรชั่น”  นับเป็นหมุดหมายสำคัญของการก้าวสู่บริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยีชั้นนำในภูมิภาคโดยมุ่งพัฒนานวัตกรรม ดิจิทัล และบริการต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงผู้บริโภคและธุรกิจสู่เป้าหมายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย พร้อมเดินหน้าส่งมอบประสบการณ์ดิจิทัลชั้นนำให้แก่ลูกค้าทั่วประเทศ ผ่านการนำเสนอสินค้า บริการ และโซลูชันดิจิทัลที่หลากหลาย ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของการใช้ชีวิตออนไลน์ในปัจจุบันและอนาคต

 

เริ่มต้นจากคุณภาพสัญญาณที่ดียิ่งขึ้นในทันที

 

วันนี้ไม่ว่าลูกค้าทรูหรือดีแทคก็สามารถใช้สัญญาณคุณภาพดีขึ้นทันที ซึ่งเป็นก้าวแรกในการพัฒนาคุณภาพอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนมือถือด้วยการ “โรมมิ่ง” สัญญาณข้ามโครงข่ายเพื่อใช้งาน 5G และ 4G บนคลื่น 2600 MHz  และ 700 MHz โดยลูกค้าดีแทคสามารถใช้งาน 5G บนคลื่น 2600 MHz และลูกค้าทรูสามารถใช้งาน 5G และ 4G บนคลื่น 700 MHz ซึ่งเปิดให้บริการแล้วทั้ง 77 จังหวัด

 

นอกจากนี้ ด้วยวิสัยทัศน์ของ “ทรู คอร์ปอเรชั่น” คือการมุ่งเป็นผู้นำเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่จะเปลี่ยนผ่านวิถีชีวิตคนไทย และขับเคลื่อนธุรกิจให้ก้าวสู่แถวหน้าของเศรษฐกิจดิจิทัล จึงเร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลปลดล็อกประเทศสู่การเติบโตในระยะยาว เร่งขยายการให้บริการ 5G ครอบคลุมพื้นที่ 98% ในปี พ.ศ. 2569 ปูทางให้ประเทศไทยก้าวสู่ความเป็นผู้นำแนวหน้าในโลกดิจิทัลของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

เพราะความพึงพอใจของลูกค้าคือพลังใจยิ่งใหญ่ของทรูและดีแทค

 

ตามรายงานของทรูและดีแทคพบว่ากระแสตอบรับความพึงพอใจของลูกค้าเพิ่มอย่างต่อเนื่องหลังจากผสานพลังรวมกัน 1+1 เท่ากับ อินฟินิตี้ สร้างศักยภาพความเป็นไปได้ใหม่ที่ไม่รู้จบ มีอัตราเติบโตที่สะท้อนความพึงพอใจของลูกค้าดีเกินคาด ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ดังนี้​

  • ลูกค้าดีแทคและทรูมากกว่า 12 ล้านหมายเลขสัมผัสประสบการณ์ดียิ่งขึ้นจากการโรมมิ่งทั่วประเทศ
  • ลูกค้ารับสิทธิพิเศษทั้งทรูและดีแทครวมมากกว่า 20 ล้านรายการ
  • ยอดผู้ใช้งานดิจิทัลแพลตฟอร์มเพิ่มอีกมากกว่า 5  แสนราย
  • แพลตฟอร์ม Gaming Nation มีผู้ใช้งานใหม่เพิ่มอีก 25%
  • เพิ่มร้านค้าจุดแลกรับสิทธิประโยชน์เป็น 2 เท่าจากเดิม (ภายในไตรมาส 2/2566)

 

 

ขยายเวลาแห่งความสุขกับสิทธิพิเศษที่ดียิ่งขึ้นสำหรับลูกค้าทรูและดีแทค

 

จากกระแสที่ลูกค้าของเราให้ความสนใจกับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เกินคาดหมาย โดยช่วงราว 1 เดือนที่ผ่านมายอดลูกค้าทั้งทรูและดีแทคได้แลกรับสิทธิพิเศษรวมกันมากกว่า 20 ล้านรายการ โดยมาจากทั้งแคมเปญสุขยิ่งกว่า เมื่อมีกันและกัน คือ ดูฟรี ดื่มฟรี เน็ตฟรี แล้วยังรวมถึงสิทธิพิเศษอื่นๆ อีกมากมาย จากทรูยู และดีแทครีวอร์ด ตามปกติ ซึ่งเป็นสิทธิพิเศษที่คัดสรรมาครอบคลุมหมวดหมู่ทุกไลฟ์สไตล์

 

ทรูได้ขยายการมอบสิทธิพิเศษต่างๆ ให้มากและหลากหลายยิ่งขึ้น โดยภายในไตรมาส 2 จะเพิ่มจำนวนร้านค้า เพื่อลูกค้าทรูและดีแทคจะได้แลกรับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น 2 เท่าจากเดิม ทั้งร้านค้าใกล้บ้าน และในศูนย์การค้าทุกภาค ทั่วไทย รวมถึงที่สนามบิน นอกจากนี้ ยังมอบแคมเปญอิ่มสุขไปด้วยกัน สำหรับแลกสิทธิพิเศษลดมื้อเด่น ลดร้านดัง และลดค่าจอดรถ ที่ศูนย์การค้าเครือเซ็นทรัลทุกสาขา โดยเริ่ม 1 เมษายน - 15 มิถุนายน พ.ศ. 2566 

 

สิ่งเหล่านี้คือคำขอบคุณของทรูและดีแทค ที่มุ่งมั่นผสานพลัง ร่วมสร้างศักยภาพความเป็นไปได้ใหม่ไม่สิ้นสุดไปด้วยกัน

 

 

อ่านต่อ
Smart City เริ่มต้นที่นี่ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ สถานี 5G อัจฉริยะ เพื่อคนไทย
True Blog 21 มี.ค. 2566

ยุคนี้ หันไปทางไหนก็มีแต่คนพูดถึง 5G จนอดสงสัยไม่ได้ว่า 5G สำคัญกับกับชีวิตเรามากแค่ไหนกันนะ?

 

ความจริงแล้ว ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ทั่วโลกต่างพูดถึงเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายประสิทธิภาพสูงนี้ เพราะ 5G คือเทคโนโลยีสำคัญที่เข้ามาช่วยพลิกชีวิตเราทุกคนได้ โดยยกระดับตั้งแต่การใช้ชีวิตประจำวันง่าย ๆ อย่าง
การอ่านฟีดบนหน้าเฟซบุ๊ก เล่นติ๊กต็อก ยูทูบ อัปไอจีสตอรี่ และสตรีมมิงได้เร็วทันใจ ไปจนถึงระดับมหภาค เรื่องของภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมให้ดียิ่งขึ้น

 

ด้วยเหตุนี้ 5G จึงเป็นเทคโนโลยีที่ทุกประเทศจับตามอง และประเทศไทยก็ต้องก้าวให้ทันเช่นกัน ทรูจึงเดินหน้าพัฒนาเครือข่ายอัจฉริยะ True 5G พร้อมเป็นพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ควบคู่กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลสุดล้ำที่ผสมผสานเชื่อมโยงการทำงานผ่านเครือข่ายอัจฉริยะ True 5G ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์ AI การเกษตรอัจฉริยะ รถยนต์อัตโนมัติ หรือแม้แต่เมืองในฝันอย่าง ‘เมืองอัจฉริยะ’ หรือ ‘Smart City’ ที่เราได้เห็นในนานาประเทศก็ล้วนเกิดขึ้นจริงได้ด้วย 5G เช่นกัน 

 

ตอนนี้ Smart City ในประเทศไทยได้เริ่มต้นแล้ว จากการนำเครือข่ายอัจฉริยะ True 5G และ โซลูชัน 5G เข้าไปยกระดับภาคการคมนาคม เสริมศักยภาพในการให้บริการประชาชนและเพิ่มความปลอดภัย พัฒนาให้การคมนาคมขนส่งสะดวกล้ำสมัยกว่าเดิม ที่ ‘สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์’  

 

สถานีนี้นับเป็นก้าวแรกที่นำเทคโนโลยี 5G มาเป็นโซลูชันในการคมนาคมของคนไทยก็ว่าได้ จะน่าตื่นตาตื่นใจแค่ไหน จะมีเทคโนโลยีสุดล้ำอะไรบ้าง คงต้องไปสัมผัสกันด้วยตัวเองแล้ว!

 

สถานีอัจฉริยะ 5G ความสะดวกที่จับต้องได้

 

เพราะ ‘การคมนาคม’ คือจุดเริ่มต้นของการเชื่อมต่อผู้คนเข้าด้วยกัน ถ้ายกระดับการคมนาคมได้ ชีวิตความเป็นอยู่ก็จะดีขึ้นด้วย ทรูจึงได้ร่วมมือกับการรถไฟแห่งประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปลี่ยนสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ให้เป็น ‘สถานี 5G อัจฉริยะ  (5G Smart Station)’ แห่งแรกในไทยและในอาเซียน 

 

ที่นี่ คนไทยและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกจะได้สัมผัสเทคโนโลยีเครือข่าย 5G อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม เป็นความสะดวกสบายที่จับต้องได้จริงตั้งแต่ก้าวแรกที่เข้ามาในสถานี อย่างแรกคือการใช้เครือข่าย 5G ที่เร็วแรง ติดต่อสื่อสารหรือใช้งานแอปพลิเคชันได้ทันใจ จะโทรหรือใช้งานดาต้าก็ไวมาก นอกจากนี้ยังพรั่งพร้อมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ เช่น ถ้าต้องการข้อมูลการเดินทางหรือความช่วยเหลือ ก็จะมี หุ่นยนต์ต้อนรับ SRT Bot คอยให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน ทั้งการแสดงแผนผังของสถานี แสดงข้อมูลรายการเดินรถ โดยสามารถโต้ตอบได้แบบเรียลไทม์ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย เรียกว่าทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการเชื่อมต่อผู้คน ทั้งชาวไทยและผู้คนหลากหลายชาติที่เข้ามาใช้บริการ  พร้อมมอบการต้อนรับที่อบอุ่นและน่าประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวทุกคน

 

อีกหนึ่งเทคโนโลยีที่แสดงถึงความเท่าเทียมในการใช้สถานีอัจฉริยะแห่งนี้ก็คือ รถเข็นอัจฉริยะ 5G Smart Wheel Chair ที่มีระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงานพร้อมให้ข้อมูลต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกผู้สูงอายุและผู้ทุพพลภาพสร้างประสบการณ์เดินทางที่ดีและมีความปลอดภัยให้กับคนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย

 

 

สำหรับการคมนาคมแล้ว ความสะดวกอย่างเดียวคงไม่พอ แต่ต้องปลอดภัยด้วย สถานีอัจฉริยะแห่งนี้มีระบบปัญญาประดิษฐ์ 5G AI Security เชื่อมต่อกล้องวงจรปิดทั่วทั้งสถานี ผู้ใช้บริการทุกคนจึงเดินทางได้อย่างสบายใจแน่นอน ระบบแสนชาญฉลาดนี้สามารถวิเคราะห์วัตถุแปลกปลอม พร้อมตรวจจับพฤติกรรมบุคคลที่น่าสงสัยได้ และยังส่งสัญญาณแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือหรือสั่งหยุดรถไฟในกรณีเหตุฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว หากมีผู้ใช้บริการเกิดอุบัติเหตุก็จะขอความช่วยเหลือแบบเรียลไทม์ ได้ทันที

 

โซลูชัน 5G ทั้งหมดนี้ สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ด้วยระบบ MEC หรือ Multi-access Edge Computing ซึ่งเป็นการวางโครงข่ายเทคโนโลยี 5G สุดล้ำสมัยทำให้ระบบอัจฉริยะต่าง ๆ ภายในสถานีเชื่อมต่อกันได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยของข้อมูลสูง ทั้งยังรองรับการต่อยอดโซลูชัน 5G ได้อีกหลากหลายในอนาคตด้วย

 

ถึงเวลาออกเดินทางสู่ Smart City 

 

ถึงแม้สถานี 5G อัจฉริยะ  จะเป็นเพียงหนึ่งในจิ๊กซอว์หลากหลายชิ้นสู่การเป็น Smart City เต็มตัว แต่หลายประเทศเลือกเริ่มต้นสร้าง Smart City ที่การคมนาคมเป็นอย่างแรก ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จมากก็คือ เมืองกวางโจว ประเทศจีน ที่ได้นำ 5G มาใช้กับรถไฟความเร็วสูงทั่วเมือง เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน พร้อมประหยัดแรงงานและเวลา ทำให้ผู้คนกว่า 20 ล้านคนในเมืองเดินทางได้เร็วขึ้น ปลอดภัยขึ้น และรื่นรมย์ขึ้น จนได้รางวัลในเวทีโลกหลายรางวัล และหลังจากประสบความสำเร็จในการคมนาคมแล้ว กวางโจวยังเดินหน้าติดตั้งสถานีกระจายสัญญาณ 5G ไว้ทั่วเมืองเพื่อเชื่อมโยงผู้คนเข้ากับเทคโนโลยีอย่างทั่วถึง

 

 

สถานี 5G อัจฉริยะ  ในไทยก็กำลังมุ่งไปยังจุดหมายเดียวกับกวางโจวเช่นกัน ด้วยความสำเร็จของสถานีอัจฉริยะ ที่มีการใช้ประโยชน์ของเครือข่าย True 5G อย่างเต็มที่ สามารถใช้เป็นโมเดลเพื่อนำไปต่อยอดได้ แถมยังมีโอกาสสร้างการเปลี่ยนแปลงด้านการคมนาคมทั่วประเทศไทยได้ด้วย ในอนาคต เราอาจได้เห็นสถานีอัจฉริยะ 5G แบบนี้ตั้งอยู่ทั่วทุกภูมิภาค และเชื่อมโยงกับอัจฉริยะอื่น ๆ ที่อยู่ภายนอกสถานี เช่น ระบบความปลอดภัยผ่านกล้องวงจรปิด ซึ่งในที่สุด เทคโนโลยี 5G ก็อาจจะนำประเทศไทยไปสู่ Smart City เต็มตัวได้ กลายเป็นเมืองที่สะดวกปลอดภัยสำหรับคนไทยและนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก

 

ก้าวแรกของ 5G สู่อนาคตที่ดีกว่า

 

ถ้าอยากสัมผัสเทคโนโลยีสุดล้ำและความสะดวกสบายของ Smart City ก็สามารถทดลองใช้บริการสถานี 5G อัจฉริยะ  ที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ได้เลยวันนี้ เชื่อว่าสถานีนี้จะไม่ใช่แค่สร้างประสบการณ์ที่ดีเพื่อคนไทยเท่านั้น แต่ยังช่วยต้อนรับเหล่านักท่องเที่ยวที่เริ่มหลั่งไหลกลับมาเข้า และสร้างภาพความประทับใจไม่รู้ลืมให้กับประเทศไทยได้แน่นอน

 

อ่านต่อ
True Digital Park กับบทบาทการสร้างระบบนิเวศ เพื่อสนับสนุนสตาร์ทอัพไทย
True Blog 09 มี.ค. 2566

ตั้งแต่โลกเริ่มเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล มีธุรกิจสตาร์ทอัพจำนวนมากเกิดขึ้นทั่วโลก สำหรับประเทศไทย กระแสสตาร์ทอัพมาแรงตั้งแต่เมื่อหลายปีก่อน มีสตาร์ทอัพสัญชาติไทยแจ้งเกิดจำนวนมาก แต่ที่สามารถเติบโตและขยายธุรกิจได้กลับมีน้อยราย  ซึ่งสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นที่จะช่วยให้สตาร์ทอัพเกิดและเติบโตได้อย่างมีคุณภาพก็คือ ระบบนิเวศของสตาร์ทอัพ หรือ Startup Ecosystem

 

ทรู เป็นองค์กรเอกชนที่มีวิสัยทัศน์ก้าวสู่การเป็นบริษัทโทรคมนาคม-เทคโนโลยี โดยหนึ่งในความมุ่งมั่นที่สำคัญ คือ การสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของ Tech Startup ในระดับภูมิภาค เพราะเชื่อว่ากลุ่มสตาร์ทอัพจะเป็นนักรบเศรษฐกิจรุ่นใหม่ที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศได้ จึงเป็นที่มาของการลงทุนเพื่อสร้าง Startup Ecosystem ของไทย ซึ่งก็คือ ทรู ดิจิทัล พาร์ค (True Digital Park) นั่นเอง

 

ทรู ดิจิทัล พาร์ค เป็นศูนย์กลางเทคและสตาร์ทอัพที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน มีระบบนิเวศสำหรับสตาร์ทอัพที่สมบูรณ์แบบครบวงจรในพื้นที่เดียว โดยรวบรวมทั้ง บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัย นักลงทุน หน่วยงานภาครัฐ และสตาร์ทอัพผู้ประกอบการเทค อยู่ร่วมกันในระบบนิเวศที่เชื่อมโยงกันภายใต้แนวคิด “Open Innovation” เพื่อหลอมรวมและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่จะสนับสนุนสตาร์ทอัพให้เกิดขึ้นและเติบโตได้อย่างยั่งยืน

 

นับเป็นพื้นที่เพื่อการพัฒนาด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกิดขึ้นจากการลงทุนของเอกชนโครงการแรกของประเทศไทย ขณะที่โครงการอื่น ๆ ทั่วโลกล้วนเกิดจากการสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่ง ทรู ดิจิทัล พาร์ค มีความเพียบพร้อมของระบบนิเวศสำหรับสตาร์ทอัพครอบคลุมทุกมิติ

 

 

พื้นที่สร้างสรรค์นวัตกรรม สนับสนุนการทำงาน และสร้างชุมชนสตาร์ทอัพ

 

แน่นอนว่า สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นทำธุรกิจอาจจะยังไม่มีสถานที่ทำงานเป็นของตัวเอง ทรู ดิจิทัล พาร์ค จึงเปิดพื้นที่ทำงาน ที่สนับสนุนให้สตาร์ทอัพในหลากหลายธุรกิจได้มารวมตัวในพื้นที่เดียวกัน และเกิดเป็นชุมชนสตาร์ทอัพ หรือ Startup Community ที่เปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนแนวคิดและเอื้อต่อการต่อยอดธุรกิจร่วมกันได้

 

ทรู ดิจิทัล พาร์ค ออกแบบพื้นที่ด้วยแนวคิด “Tomorrow Life Campus” ที่จะปลุกพลังคนรุ่นใหม่ให้ก้าวไปพร้อมกับนวัตกรรมดิจิทัลแห่งอนาคต และตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนยุคดิจิทัล ภายในมีการเปิดพื้นที่ให้สตาร์ทอัพใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ มีพื้นที่ทำงานที่เป็น Co-working Space รวมถึงพื้นที่ออฟฟิศหลากหลายขนาดที่รองรับได้ทั้งออฟฟิศขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ที่ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกร่วมกันได้ เพื่อรองรับสตาร์ทอัพขนาดเล็กที่ต้องการทำงานแบบประจำ ไปจนถึงออฟฟิศที่สามารถรองรับคนได้ถึง 2,000 คน ตอบโจทย์สตาร์ทอัพขนาดใหญ่ แต่ละชั้นมีบันไดเชื่อมถึงกัน พร้อมพื้นที่ส่วนกลาง ทั้งห้องประชุมหลากหลายขนาดที่มีอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างครบครัน สนับสนุนการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์เป็นเครือข่ายชุมชนสตาร์ทอัพ

 

 

เติมเต็มความรู้แก่สตาร์ทอัพและคนรุ่นใหม่ ผ่านศูนย์รวมสถาบันการเรียนรู้ด้านดิจิทัลระดับโลก

 

หนึ่งในการสร้างระบบนิเวศที่สมบูรณ์แบบเพื่อสตาร์ทอัพ คือการเปิดโอกาสการเรียนรู้และเพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลให้แก่สตาร์ทอัพ ผู้ประกอบการเทค และคนรุ่นใหม่ที่สนใจเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งทรู ดิจิทัล พาร์ค ได้ร่วมมือกับพันธมิตรองค์กรเทคโนโลยีดิจิทัลระดับแนวหน้าของประเทศและของโลก เปิด “ศูนย์รวมสถาบันการเรียนรู้ด้านดิจิทัลระดับโลก” (True Digital Park House of Digital Academy) แห่งแรกและแห่งเดียวในไทย ซึ่งเป็นศูนย์รวมทุกโอกาสการเรียนรู้และเพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล ให้ผู้ที่สนใจได้เรียนรู้และอัปสกิลด้านดิจิทัล เพื่อสร้างบุคลากรของประเทศให้มีทักษะสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและตอบโจทย์องค์กรต่างๆที่เร่งทรานส์ฟอร์มธุรกิจสู่ยุคดิจิทัล เตรียมพร้อมรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมและการลงทุนในยุค 4.0

 

ความร่วมมือในครั้งนี้ มีองค์กรพันธมิตรทั้งในไทยและระดับโลก ไม่ว่าจะเป็น Alibaba Cloud Thailand, Amazon Web Services, Cisco System (Thailand), Google Thailand, Huawei Cloud Thailand, Microsoft (Thailand), Mitsubishi, Sea (Thailand), True Digital Academy, Bit.studio, Tellscore, สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย และการตลาดวันละตอน ร่วมกันยกระดับความรู้และทักษะด้านดิจิทัลของคนไทย ช่วยเพิ่มศักยภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

เร่งสปีดสตาร์ทอัพเติบโตด้วยโปรแกรม Startup Sandbox

 

นอกเหนือจากเรื่องพื้นที่ทำงาน ที่ตอบโจทย์เวิร์กสไตล์ของสตาร์ทอัพแล้ว ทรู ดิจิทัล พาร์ค ยังเร่งเพิ่มศักยภาพการเติบโต พร้อมสร้างโอกาสให้คนรุ่นใหม่ ผ่านหลักสูตร และกิจกรรม อาทิ Startup Sandbox โปรแกรมระยะสั้น กดที่เป็นความร่วมมือระหว่างทรู ดิจิทัล พาร์ค และองค์กรขนาดใหญ่ สถาบันการศึกษา หรือ หน่วยงานภาครัฐ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้สตาร์ทอัพในประเทศไทย ด้วยพื้นที่ทำงาน แหล่งความรู้ ชุมชนสตาร์ทอัพ และโอกาสในการพบกูรูผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ รวมถึงเหล่านักลงทุน เพื่อให้สตาร์ทอัพสามารถต่อยอดธุรกิจให้เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด

 

 

โปรแกรม Startup Sandbox ไม่เพียงแค่ช่วยบ่มเพาะสตาร์ทอัพ แต่ยังส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสื่อสารและดิจิทัลล้ำสมัยมาสร้างสรรค์นวัตกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตของผู้คนหรือสำหรับภาคธุรกิจด้วย  อย่างเช่น ในยุคที่ 5G สามารถพลิกมิติใหม่ของภาคอุตสาหกรรม  True Digital Park ได้ร่วมมือกับ True 5G จัดเวทีประชันไอเดีย เช่น True5G Tech Sandbox ให้ผู้ที่สนใจร่วมสร้างสรรรค์นวัตกรรมโซลูชันเพื่อคนไทย เพื่อยกระดับอุตสาหกรรม ยกระดับคุณภาพชีวิต เมืองอัจฉริยะ การศึกษา การค้าปลีก เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม ซึ่งผู้ที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโปรแกรม Sandbox นี้  ได้เรียนรู้ในการนำอัจฉริยภาพของเทคโนโลยี 5G ผสานเทคโนโลยีดิจิทัลหลากหลาย ต่อยอดไอเดียและลงมือพัฒนา ให้เกิดเป็นนวัตกรรมสินค้าหรือบริการที่ใช้งานได้จริง โดยมีผู้เชี่ยวชาญในวงการให้คำแนะนำ สนับสนุน ช่วยเหลือ พร้อมโอกาสได้รับเงินลงทุนจากนักลงทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจและสนับสนุนสตาร์ทอัพไทยให้เติบโตไปด้วยกัน

 

 TDPK One Stop Service for Startups ช่วยธุรกิจเดินหน้าไม่สะดุด

 

ทรู ดิจิทัล พาร์ค มีบริการ TDPK One Stop Service for Startups ศูนย์ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาในการดำเนินธุรกิจสตาร์ทอัพในด้านต่าง ๆ อาทิ การขอสมาร์ทวีซ่า บัญชีและกฎหมาย สิทธิประโยชน์ทางภาษีและการส่งเสริมการลงทุน การหาพันธมิตรทางธุรกิจ การจัดหาทีมงานหรือบุคลากรสายเทค บริการคลาวด์ และโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) สนับสนุนในเรื่องสิทธิพิเศษทางภาษีสำหรับบริษัทที่จะเข้ามาอยู่ในทรู ดิจิทัล พาร์ค นอกจากนี้ ยังมีสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ที่เข้ามาเปิดศูนย์บริการเพื่อรองรับผู้ประกอบการที่สนใจจะเข้าไปสู่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

 

ศูนย์แห่งนี้จะเชื่อมโยงและอำนวยความสะดวกให้สตาร์ทอัพเข้าถึงหลาย ๆ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐ ที่มีส่วนสำคัญการในสนับสนุน ส่งเสริมธุรกิจสตาร์ทอัพ ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้ สนับสนุนทางด้านเทคโนโลยี พาออกตลาดต่างประเทศ ตลอดจนออกกฎเกณฑ์ทางด้านข้อปฎิบัติ และกฎหมายต่าง ๆ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพ

 

ระบบนิเวศของสตาร์ทอัพ ที่ครบถ้วนสมบูรณ์แบบที่สุด

 

 

ทรู ดิจิทัล พาร์ค ยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าสนับสนุนสตาร์ทอัพอย่างต่อเนื่อง โดยเปิด ทรู ดิจิทัล พาร์ค เวสต์  ประเดิมด้วยพื้นที่จัดงานอีเวนต์และการประชุม โดยมีการจัดสรรพื้นที่ที่หลากหลาย รองรับได้ทั้งงานแสดง งานประชุม งานเสวนา หรือเวิร์กช็อปทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ และคอนเวนชันฮอลล์ที่มาพร้อมเทคโนโลยีครบครัน และล่าสุดกับ ห้องสมุดมีชีวิต TK PARK  รองรับทั้งการทำงาน การศึกษา และเป็นพื้นที่เชิงการเรียนรู้ครบวงจร รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวก พื้นที่สีเขียว สวนลอยฟ้า และร้านค้าที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ได้เป็นอย่างดี เรียกได้ว่า ทรู ดิจิทัล พาร์ค ส่งเสริมการสร้างระบบนิเวศของสตาร์ทอัพ ที่ครบถ้วนสมบูรณ์แบบที่สุด

 

 

ทรู เชื่อมั่นในศักยภาพของสตาร์ทอัพไทย และมุ่งมั่นสร้างสรรค์ให้ทรู ดิจิทัล พาร์ค มีระบบนิเวศเพื่อสนับสนุนสตาร์ทอัพที่สมบูรณ์แบบ เอื้อต่อการพัฒนาด้านดิจิทัลของไทย พร้อมเดินหน้าสู่การเป็นศูนย์กลางของ Tech Startup ในระดับภูมิภาค และนำไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย 

 

คลิกดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทรู ดิจิทัล พาร์ค ได้ที่นี่

 

อ้างอิง

 

อ่านต่อ
สำรวจชุมชนบ้านห้วยมะเกลี้ยงกับชีวิตดี ๆ เมื่อมีเครือข่ายทรู
True Blog 06 ก.พ. 2566

หมู่บ้านห้วยมะเกลี้ยงเป็นชุมชนเล็ก ๆ ที่อยู่บนภูเขาสูงใน ต.ป่างิ้ว อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย ก่อนหน้านี้ชุมชนแห่งนี้ไม่มีแม้สัญญาณโทรศัพท์มือถือใดเข้าถึง แต่ด้วยความเชื่อมั่นว่า การสื่อสารจะเชื่อมโยงทุกคนให้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงข้อมูลความรู้และบริการต่าง ๆ นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในทุก ๆ มิติ ทรู จึงเป็นผู้ให้บริการรายแรกและรายเดียวที่เข้ามาบุกเบิกติดตั้งเสาสัญญาณเครือข่าย เติมเต็มความสุขและความสะดวกสบายให้แก่ผู้คนในหมู่บ้านเล็ก ๆ อันห่างไกลแห่งนี้

 

เราจะพาไปสำรวจชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิมของคนในชุมชนแห่งนี้ใน 3 มิติ ผ่าน 3 ตัวแทนของหมู่บ้าน ที่พร้อมต้อนรับและบอกเล่าเรื่องราวดี ๆ หลังจากที่มีเครือข่ายทรูเข้ามาช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและเพิ่มความสุขของพวกเขา

 

 

ชาวบ้านในชุมชนได้รับข่าวสารฉับไว และสื่อสารได้อย่างเท่าเทียม

 

ในยุคที่เราต่างกล่าวถึงการสื่อสารไร้พรมแดน แต่ชุมชนหมู่บ้านห้วยมะเกลี้ยงกลับถูกทิ้งไว้ข้างหลังมานานหลายปี เพียงเพราะอยู่ในพื้นที่ห่างไกล

 

คุณสุวัฒน์ สิทธิบุญ ผู้ใหญ่บ้านชุมชนบ้านห้วยมะเกลี้ยง หรือที่คนในพื้นที่เรียกกันว่า “พ่อหลวง” รับหน้าที่หลักในการดูแลคนในพื้นที่ รวมถึงการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานภายนอก และส่งข่าวสารให้กับคนในชุมชนบ้านห้วยมะเกลี้ยง คุณสุวัฒน์เล่าว่า แต่เดิมในหมู่บ้านไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ หากคนในหมู่บ้านต้องการติดต่อคนภายนอกต้องขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นไปหาสัญญาณบนดอยที่ไกลถึง 3 กิโลเมตร เมื่อเห็นความลำบากของชาวบ้าน จึงได้พยายามติดต่อผู้ให้บริการเครือข่าย และในที่สุด ทรู ก็เป็นรายเดียวที่ตอบรับและเร่งส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาติดตั้งเครือข่ายอย่างรวดเร็ว และมีสัญญาณแรงครอบคลุมพื้นที่ทุกครัวเรือนในหมู่บ้าน

 

ชาวบ้านต่างก็รู้สึกสบายใจมากขึ้นที่สามารถติดต่อกับสื่อสารกับครอบครัวได้ตลอดเวลา เพราะมีสัญญาณโทรศัพท์และสัญญาณอินเทอร์เน็ตพร้อมให้ใช้งานได้ในพื้นที่ รวมไปถึงความเป็นอยู่ก็ดีขึ้น เพราะทุกคนมีโอกาสได้เข้าถึงสื่อออนไลน์ได้เท่าเทียมกับคนในเมือง ได้อัปเดตข่าวสารและแสวงหาข้อมูลได้สะดวก จนต่อยอดเป็นอาชีพใหม่ หารายได้พิเศษจากการค้าขายออนไลน์ได้เช่นกัน

 

 

ว่ากันว่าการเปลี่ยนแปลงที่ดีที่สุด นั่นก็คือการเปลี่ยนแปลงที่ช่วยพลิกชีวิตของคนได้ ซึ่งชุมชนบ้านห้วยมะเกลี้ยงนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นชัดเจน

 

“ผมดีใจที่ทรูเล็งเห็นความสำคัญของชุมชนที่อยู่ห่างไกล ทำให้พวกเราได้รับโอกาสเท่าเทียมกับหมู่บ้านที่อยู่ในเมืองได้ติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกได้อย่างสบายมากขึ้น ในนามตัวแทนของชุมชน ผมขอขอบคุณบริษัททรูที่มาติดตั้งเสาสัญญาณให้หมู่บ้านครับ” คุณสุวัฒน์เล่าถึงความรู้สึกพร้อมรอยยิ้ม

 

สร้างอาชีพ สร้างรายได้จากกิจการโฮมสเตย์ในท้องถิ่น

 

การที่ได้ทำงานที่รักในชุมชนถิ่นอาศัยถือเป็นหนึ่งความสุขของ คุณทองสุข บัวรพันธ์ หรือที่คนในพื้นที่เรียกกันว่า พ่อบุญธรรม ซึ่งเป็นประธานโฮมสเตย์ ชุมชนบ้านห้วยมะเกลี้ยง 

 

ก่อนหน้าที่จะมีเครือข่ายทรูเข้ามา การทำโฮมสเตย์ในชุมชนที่อยู่บนภูเขาสูงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก แม้โฮมสเตย์แห่งนี้น่าจะถูกใจนักท่องเที่ยวที่ต้องการดื่มด่ำธรรมชาติอันงดงามเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ แต่กลับยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยว เพราะขาดการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อยุคใหม่ โดยยังต้องอาศัยการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์หน่วยงานภาครัฐ หรือรอให้นักท่องเที่ยวสายผจญภัยขับรถมาพบโดยบังเอิญ

 

 

เมื่อมีเครือข่ายทรูแล้ว กิจการโฮมสเตย์ก็ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะการที่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตทำให้คุณทองสุขสามารถประชาสัมพันธ์โฮมสเตย์ได้ผ่านในเครือข่ายสังคมออนไลน์ รวมทั้งยังติดต่อกับกรุ๊ปทัวร์ผ่านสัญญาณโทรศัพท์มือถือที่มีความเสถียรในทุกพื้นที่ของหมู่บ้านได้ตลอดเวลา ลดความหนักใจว่าจะมีปัญหาในการติดต่อกับภายนอกดังเช่นเมื่อก่อน

 

ไม่เพียงความสะดวกที่ทำให้คุณทองสุขดำเนินกิจการโฮมสเตย์ที่ตั้งใจทำได้อย่างราบรื่นเท่านั้น สำหรับนักท่องเที่ยวที่มาพักที่โฮมสเตย์ชุมชนบ้านห้วยมะเกลี้ยง ก็สามารถติดต่อบุคคลภายนอกได้ง่าย นักท่องเที่ยวเพลิดเพลินไปกับการไลฟ์ถ่ายทอดบรรยากาศไปยังโซเชียลมีเดียของตัวเองเพื่อให้เพื่อน ๆ ได้เห็นความสวยงามของสถานที่แห่งนี้ไปด้วยกัน ด้วยสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ใช้งานได้ลื่นไหลเป็นอย่างดี

 

 

การได้ทำงานที่รักมีรายได้เลี้ยงตัวในชุมชนบ้านเกิด ทำให้คุณทองสุขได้กล่าวถึงความในใจที่มีต่อทรูไว้ว่า

 

“ทรูทำให้ความเป็นอยู่ของพวกเราดีขึ้นมากในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาชีพ ความเป็นอยู่ หรือการเจ็บป่วย เช่น ในหมู่บ้านเรามีคนเจ็บป่วยกะทันหัน ถ้าเป็นตอนที่ยังไม่มีเครือข่ายทรู ต้องนำคนป่วยใส่กระสอบป่านให้อยู่จุดกลาง เอาไม้มาใส่ หามกันสี่คนแล้วพาไปโรงพยาบาล ซึ่งการเดินทางจากหมู่บ้านลงไปในเมืองค่อนข้างลำบาก แต่ตอนนี้สบายมากครับ เราโทรศัพท์ไป กู้ภัยก็ขึ้นมาแล้ว ได้ประโยชน์หลายอย่างจริง ๆ ครับ ผมมีความสุขมาก”

 

สร้างแรงบันดาลใจและลงมือทำจริง เพื่อพัฒนาชีวิตและสิ่งแวดล้อมของชุมชนให้ดีขึ้น

 

การที่มีเครือข่ายสัญญาณที่ดี นอกจากการช่วยอำนวยความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตแล้ว ยังเปิดโอกาสให้คนชุมชนได้ค้นคว้าหาข้อมูล และสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของชุมชนให้ดีขึ้นได้อีกด้วย

 

 

เรื่องราวของ คุณธมลวรรณ พันยง หรือคุณอ้อม ตัวแทนจากคนในชุมชนที่สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมและต้องการพัฒนาความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้ดีขึ้น เธอเล่าว่าแต่เดิมนั้นชาวบ้านในชุมชนมักปล่อยน้ำเสียจากครัวเรือนลงคลองของหมู่บ้าน จนเกิดปัญหาไขมันเป็นพิษในแหล่งน้ำของชุมชน เมื่อเครือข่ายทรูเข้ามาเธอจึงมีโอกาสได้ใช้อินเทอร์เน็ตในการหาค้นหาข้อมูลเพื่อแก้ปัญหานี้ จนเกิดแรงบันดาลใจไปสู่การทำบ่อดักไขมัน ซึ่งเธอลงมือทำเองโดยศึกษาวิธีการจากยูทูป  

 

การมีอินเทอร์เน็ตทำให้เราสามารถค้นหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากมาย ได้ความรู้ใหม่ ๆ จนเกิดแรงบันดาลใจที่จะลงมือทำเพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมของชุมชนของเราให้ดีขึ้น

 

เมื่อปัญหาต่าง ๆ ได้รับการคลี่คลาย ความสบายใจปรากฏ และนี่คือสิ่งที่คุณธมลวรรณอยากบอกกับทรู

 

อ้อมรู้สึกเหมือนถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่ง บอกไม่ถูกจริง ๆ เราเห็นหมู่บ้านนี้ตั้งแต่เล็ก ๆ แล้วค่ะ ไม่คิดว่าหมู่บ้านเล็ก ๆ แบบนี้ ที่หลายบริษัทปฏิเสธมา แต่ทรูมองเห็นตรงนี้ เข้ามาติดตั้งเสาสัญญาณให้ ชาวบ้านทุกคนดีใจมากค่ะ หรือแม้กระทั่งตอนสัญญาณขัดข้อง แม้จะอยู่บนดอย เจ้าหน้าที่ของทรูก็มาดูแลให้เร็วมาก ๆ  อยากจะบอกว่า ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ ทรูมูฟ เอช

 

การสื่อสารที่ทันสมัยไม่เพียงลดความเหลื่อมล้ำ แต่ยังสร้างโอกาส มอบความทัดเทียมให้กับผู้คนในชุมชนที่ห่างไกล ซึ่งมาพร้อมกับความสุขที่พวกเขาได้ชีวิตใหม่ และเกิดแรงบันดาลใจที่จะพัฒนาชีวิต สิ่งแวดล้อม และชุมชนให้ดียิ่งขึ้นอย่างยั่งยืน

 

เรื่องราวเหล่านี้เป็นแรงผลักดันให้ ทรู เดินหน้าการขยายเครือข่ายให้กว้างไกลและครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดทั่วไทย รวมถึงในพื้นที่ห่างไกล เพื่อเป็นหนึ่งพลังสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้เท่าเทียมกันทั่วประเทศ

 

อ่านต่อ
ทรู กับเส้นทางสู่เทคคอมปานี เตรียมอัปเกรดทุกมิติ พร้อมจับมือเดินหน้าไปด้วยกัน เพื่อมอบสิ่งที่ดียิ่งกว่า สำหรับลูกค้าคนสำคัญ
True Blog 20 ม.ค. 2566

นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของคนไทยและประเทศไทยที่จะมีโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่ดีระดับโลก ต่อยอดสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ได้ใช้นวัตกรรม บริการ และเทคโนโลยีใหม่ๆ หลังการรวมบมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น และบมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (“ทรู-ดีแทค”)  ซึ่งภายหลังการประกาศรวมธุรกิจที่จะต้องเดินหน้าร่วมกันเพื่อก้าวสู่ความเป็นเทคคอมปานี มอบสิ่งที่ดีกว่าให้กับลูกค้าและนำพาชาวไทยเปลี่ยนสู่ชีวิตดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้น เมื่อทรูและดีแทคได้ดำเนินการรวมธุรกิจตามขั้นตอน พร้อมเป็นบริษัทใหม่ ที่ยังคงมีทั้งแบรนด์ทรูและดีแทคแล้ว จะเป็นการตอกย้ำความเชื่อมั่นว่า “เมื่อเรารวมกัน ทุกสิ่งจะดียิ่งกว่า”

 

เราเชื่อว่า สิ่งที่มาพร้อมกับการรวมธุรกิจ ไม่ใช่มีเพียงแค่การเกิดขึ้นของบริษัทใหม่เท่านั้น แต่เป็นการนำความฝันในยุคดิจิทัลมาทำให้เป็นจริง เพราะเราจะนำศักยภาพที่แข็งแกร่งมารวมกันเพื่อสร้างสิ่งที่ดียิ่งกว่าเดิม

 

 

สิ่งที่ลูกค้าทรู จะได้รับทันทีหลังการรวมธุรกิจ คือ เครือข่ายคุณภาพที่กว้างขึ้น เชื่อมโยงครบทุกคลื่นความถี่ ครอบคลุมยิ่งขึ้นกว่าเดิม จากการที่บริษัทใหม่นี้จะก้าวเป็นผู้ให้บริการซึ่งมีโครงสร้างพื้นฐานการสื่อสารที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อันจะทำให้สามารถรองรับไลฟ์สไตล์ชีวิตดิจิทัลที่กำลังขยายตัวไปสู่ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ รวมถึงโอกาสการสร้างนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

 

นอกจากนี้ ลูกค้าทรูซึ่งปัจจุบันมีสิทธิพิเศษจากบริการที่หลากหลายของกลุ่มทรู ทั้งทรูมูฟ เอช ทรูออนไลน์ ทรูวิชั่นส์ ทรูไอดี ทรูมันนี่ ทรูดิจิทัล ทรูคอฟฟี่ รวมทั้งทรูยูแล้ว ยังจะได้รับสิทธิพิเศษที่เพิ่มมากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะจากการรวมธุรกิจจะเป็นการรวมพันธมิตรรายใหม่เพิ่มเติมยิ่งขึ้น ตอบโจทย์หลากหลายไลฟ์สไตล์ที่ครบครันยิ่งกว่าเดิม

 

ลูกค้าทรู ยังจะมีโอกาสที่จะได้รับการพัฒนาบริการที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม จากการนำเทคโนโลยี และประสบการณ์ ด้านการบริการในธุรกิจโทรคมนาคมจากทั่วโลกทั้งจากผู้ร่วมทุนและพันธมิตรรายใหม่ๆ ที่จะเข้ามาเพิ่มศักยภาพให้กับบริษัทใหม่ในการพัฒนาขีดความสามารถให้หลากหลายครอบคลุมไลฟ์สไตล์ดิจิทัลของลูกค้าครบในทุกมิติ

 

ยิ่งไปกว่านั้น  การก้าวสู่ความเป็นเทคคอมปานีของบริษัทใหม่นี้  ยังเพิ่มขีดความสามารถในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่รูปแบบดิจิทัล ทั้งการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมที่ครบวงจร เพื่อเชื่อมต่อคน ธุรกิจ สังคม และเศรษฐกิจ ผ่าน IoT, Cloud และหลากหลายเทคโนโลยีดิจิทัลแบบ Open Source  รวมทั้งการพัฒนาและเชื่อมโยงธุรกิจหลักในทุกภาคอุตสาหกรรมผ่านเทคโนโลยียุคใหม่ และโครงข่าย 5G เช่น การศึกษา เกษตรกรรม การแพทย์ การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมต่างๆ  ตลอดจนการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Machine Learning (ML) ระดับโลกเข้ามามีบทบาทสำคัญในการร่วมพัฒนาประเทศและขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ทั้งกลุ่มธุรกิจ ลูกค้าผู้บริโภค และประชาชนชาวไทย ต่างได้รับประโยชน์สูงสุดจากศักยภาพของบริษัทใหม่

 

ขณะเดียวกัน การรวมธุรกิจครั้งนี้ จะเพิ่มโอกาสนำเทคโนโลยีดิจิทัลลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างประโยชน์ให้ทุกภาคส่วนร่วมกัน รวมถึงการเกิดขึ้นของศูนย์นวัตกรรมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลเทคโนโลยีระดับโลก และทำให้เกิดการจัดตั้งกองทุนวงเงินกว่า 7,300 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนสตาร์ทอัพไทยที่มีศักยภาพในการสร้างนวัตกรรมให้ประสบความสำเร็จพร้อมแข่งขันกับนานาประเทศทั่วโลก ตลอดจนเป็นช่องทางให้เข้าถึงคลังข้อมูลบนแพลตฟอร์มแห่งโอกาสที่ครอบคลุมประชากรกว่า 99% ในประเทศ

 

ทั้งหมดนี้ เป็นสิ่งที่เราตั้งใจร่วมกัน  “เพื่อมอบสิ่งที่ดียิ่งกว่า ให้กับลูกค้าคนสำคัญทุกคน” 

 

#อยู่ทรูยิ่งได้มากขึ้น

#ยิ่งรู้จักยิ่งรักทรู

#ย้ายมาทรูสู่ยุคใหม่ไปด้วยกัน

อ่านต่อ