AI กำลังพลิกโฉมหน้าโทรคมนาคมและเทคโนโลยี ให้มุ่งสู่การขับเคลื่อนดิจิทัลในประเทศไทย

24 สิงหาคม 2566


โดย คุณชารัด เมห์โรทรา รองประธานคณะผู้บริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น

 

ปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงประเทศไทยอย่างรวดเร็วในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

ในแวดวงโทรคมนาคมนั้นเป็นตัวขับเคลื่อนที่ทรงพลังสำหรับการเปลี่ยนแปลงอยู่แล้ว ในฐานะรองประธานคณะผู้บริหารของ ทรู คอร์ปอเรชั่น ผมนำทีมโดยใช้แมชชีนเลิร์นนิงและ AI ในสามส่วนหลัก: เพื่อให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพื่อปรับปรุงโครงข่ายของเรา ในแต่ละด้านเหล่านี้ AI กำลังเร่งความสามารถของเราในการดำเนินการในฐานะบริษัทเทคโนโลยี-โทรคมนาคม โดยนำเสนอบริการขั้นสูงแก่ลูกค้าของเราอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

 

AI เสริมประสิทธิภาพงานบริการลูกค้าคนสำคัญ

สำหรับผู้บริโภค ทรู และดีแทค ได้นำ AI มาช่วยปฏิวัติความเร็วและระดับของการให้บริการไปในระดับบุคคล ในช่องทางดิจิทัล เช่น แอปของลูกค้าของเรา การใช้แมชชีนเลิร์นนิงเพื่อวิเคราะห์รูปแบบการใช้งานและกำหนดสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าแต่ละราย

 

แม้แต่ลูกค้าในร้านค้าก็ได้รับประโยชน์จากคำแนะนำเหล่านี้ พนักงานขายและผู้ค้าปลีกของเราสามารถเข้าถึงเคล็ดลับที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อให้ความรู้และประสบการณ์ได้รับการปรับปรุงด้วยข้อมูลที่ตรงกับลูกค้าที่ให้บริการ

การผสมผสานของ AI ได้เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบประสบการณ์การค้าปลีกในรูปแบบใหม่ ทรู ดิจิทัล ได้พัฒนาโซลูชันสำหรับลูกค้าธุรกิจของเราที่สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าในร้านค้าได้แบบเรียลไทม์ เพื่อให้แน่ใจว่าชั้นวางสินค้ามีสินค้าคงคลังเต็มอยู่เสมอและสามารถปรับราคาได้ในไม่กี่วินาที โซลูชันนี้มีชื่อว่า Virgo ซึ่งได้ทดลองใช้แล้วที่โลตัส เพื่อสร้างประสบการณ์ที่สะดวกโดยไม่ต้องมีแคชเชียร์

 

พลังของ AI ในการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลเกือบจะเป็นแบบเรียลไทม์ และให้คำแนะนำที่แม่นยำและทันท่วงทีมากขึ้น ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะการค้าปลีกเท่านั้น ทรูยังได้พัฒนาโซลูชันทางธุรกิจในด้านการเกษตรและสุขภาพ สิ่งนี้จะช่วยให้การทำฟาร์มอัจฉริยะและการแพทย์ทางไกลขยายไปได้ในวงกว้าง ซึ่งสามารถปรับปรุงการดูแลสุขภาพได้อย่างมากในช่วงเวลาที่ประชากรของประเทศเข้าสู่วัยสูงอายุและมีแพทย์ไม่เพียงพอ

 

AI เสริมประสิทธิภาพโครงข่ายมือถือ

ในขณะที่โลกของเรามีความซับซ้อนมากขึ้น การใช้ AI กลายเป็นสิ่งจำเป็นในบางงาน ตัวอย่างเช่น โครงข่ายมือถือไม่เคยซับซ้อนเท่านี้มาก่อน วันนี้ เทคโนโลยี 2G, 3G, 4G และ 5G ทำงานพร้อมกันทั้งหมด นี่เป็นความท้าทายอย่างยิ่งที่เราต้องพึ่งพาพลังและความชาญฉลาดของการเรียนรู้ของแมชชีนเลิร์นนิงเพื่อใช้งานระบบเหล่านี้อย่างราบรื่น

 

ประโยชน์ที่น่าตื่นเต้นที่สุดของ AI ในการดำเนินงานด้านโครงข่ายคือ ความสามารถในการลดการใช้พลังงาน ทรู คอร์ปอเรชั่น มุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ: carbon neutral ปริมาณการปล่อยคาร์บอน (CO2) เข้าสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับปริมาณคาร์บอนที่ถูกดูดซับกลับคืนมาภายในปี 2573 และ net zero การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2593 เพื่อสนับสนุนเป้าหมายเหล่านี้ AI สามารถวิเคราะห์การใช้งานในสถานีฐาน เพื่อคาดการณ์การใช้งานในอนาคตได้อย่างแม่นยำ ซึ่งช่วยให้สถานีฐานสามารถปิดเสาอากาศบางส่วนในช่วงนอกเวลาทำการ และสำรองความจุพลังงานได้เมื่อจำเป็น สิ่งนี้สามารถประหยัดพลังงานได้มากกว่า 20% โดยไม่ส่งผลกระทบต่อประสบการณ์ของลูกค้า

 

AI เสริมประสิทธิภาพการทำงานเพื่ออนาคต

กรณีศึกษาเหล่านี้พิสูจน์ให้เห็นว่าการรวมกันของ 5G, IOT และปัญญาประดิษฐ์ เป็นตัวเปลี่ยนเกมในอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตในแง่ของความยืดหยุ่นมั่นคงและมีประสิทธิภาพ และทรูอยู่ในจุดที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนำประโยชน์เหล่านี้มาสู่เมืองต่างๆ ในประเทศไทย โรงงาน และโครงข่ายพลังงาน

 

นอกจากนี้ เรายังตระหนักดีว่าเมื่อการใช้ AI เพิ่มมากขึ้น ความกังวลด้านจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้งานก็เช่นกัน อย่างไรก็ตาม AI ยังสามารถ สร้างโอกาสในการปรับปรุงความปลอดภัยของผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น ร้านค้าดีแทค และ ทรู ก็อยู่ในเส้นทางที่จะเป็นระบบไร้กระดาษ 100% ด้วย AI แทนที่จะเก็บบันทึกลูกค้าและสำเนาบัตรประจำตัวเป็นเอกสารกระดาษ ข้อมูลนี้จะถูกทำให้เป็นดิจิทัลและประมวลผลด้วยเทคโนโลยี AI ทั้งหมด เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลลูกค้าทั้งหมดจะถูกเก็บไว้แบบดิจิทัลและปลอดภัย

 

นอกเหนือจากความเป็นส่วนตัวแล้ว เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนาขอบเขตด้านจริยธรรมที่ชัดเจนสำหรับเทคโนโลยีนี้ AI จะต้องไม่มีอคติ และเราต้องสามารถอธิบายการตัดสินใจของมันกับมนุษย์ได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ AI จะต้องไม่ทำอันตรายต่อมนุษย์จึงจะสามารถดำรงอยู่ได้

 

ด้วยแนวทางด้านจริยธรรมที่ชัดเจน AI จะเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังสำหรับการเปลี่ยนแปลงของทรู ไปสู่บริษัทเทคโนโลยี-โทรคมนาคม และจะเป็นพลังสำคัญในการบรรลุเป้าหมายของประเทศไทยในด้านสภาพภูมิอากาศ การดูแลสุขภาพ และการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล