Sustainability

ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)

ทรู ให้คำมั่นสัญญาว่าจะรักษาสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดของเรา ทั้งลูกค้า พนักงาน และทุกคนที่อยู่ภายใต้ห่วงโซ่อุปทานของเรา ประเด็นหลักที่เรามุ่งเน้นคือ สุขภาพ ความปลอดภัย และสิทธิแรงงาน ซัพพลายเออร์ต้องดำเนินการตามมาตรฐานขององค์กรและประเมินตนเองตามหลักปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ เรายังจัดให้มีการตรวจสอบซัพพลายเออร์รายสำคัญๆ โดยผู้ตรวจสอบภายนอกด้วย

เราคาดหวังให้ซัพพลายเออร์ทุกคนปฏิบัติตรงตามมาตรฐานระดับสูงในหลากหลายมิติ เช่น ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยของพนักงาน สิทธิมนุษยชน และการต่อต้านการทุจริต เราทำการประเมินผู้ขายทุกรายและติดตามตรวจสอบผู้ขายที่เราเห็นความเสี่ยงด้าน ESG ในระดับสูง

วิศรุต ประยูรคำ

หัวหน้าฝ่ายสุขภาพ ความปลอดภัย และการรักษาความปลอดภัย (HSS)

human-rights

100%

คือ เป้าหมายการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านในส่วนของพันธมิตรทางธุรกิจและซัพพลายเออร์ระดับ 1 (2565)

loader

100%

คือ เป้าหมายการประเมินและคัดกรองซัพพลายเออร์ด้าน ESG ให้เสร็จสมบูรณ์ (2565)

save-the-world

100%

คือ เป้าหมายการตรวจสอบ ESG ในสถานที่ทำงานของซัพพลายเออร์ระดับ 1 ให้เสร็จสมบูรณ์ (2565)

classroom

18,357 ชั่วโมง

คือ จำนวนชั่วโมงในการจัดอบรมด้านความปลอดภัยให้แก่พนักงาน (2565)

สุขภาพและความปลอดภัย

ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่สำคัญของพนักงานทรูมี 2 ประการ คือ การเดินทางที่เกี่ยวข้องกับงาน และการทำงานบนที่สูงเพื่อติดตั้งอุปกรณ์โทรคมนาคม เราจัดฝึกอบรมให้แก่พนักงานและยังทำงานอย่างใกล้ชิดกับซัพพลายเออร์ นอกจากการฝึกอบรมแล้ว เรายังทบทวนกระบวนการและอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยระหว่างการตรวจสอบอีกด้วย

ห่วงโซ่อุปทาน

นอกจากเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยแล้ว เรายังดูแลห่วงโซ่อุปทานในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการด้วยมุมมองที่กว้างยิ่งขึ้น เราจัดการฝึกอบรมให้แก่ซัพพลายเออร์เรื่องเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ (Science Based Targets Initiative) เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral) ภายในปี 2573 และเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593 นอกจากนี้ ยังมั่นใจได้ว่าพันธมิตรทางธุรกิจของเราปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัวอย่างครบถ้วน