หนึ่งในกลุ่มมิจฉาชีพที่ยังคงคุกคามและสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ที่หลงเชื่อตกเป็นเหยื่อ ก็คือ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นขบวนการหลอกลวงเหยื่อทางโทรศัพท์ โดยมักจะสร้างสถานการณ์ปลอมขึ้นมาหลอกลวงให้เหยื่อเกิดความตื่นตระหนก เข้าใจผิดว่าได้รับผลกระทบ หรือหลอกล่อด้วยผลประโยชน์บางอย่าง โดยอาศัยความตกใจ ความกลัว และความรู้ไม่เท่าทันของเหยื่อ และยังมีกลอุบายแบบใหม่ ๆ ที่หลากหลาย มาล่อลวง ทำให้หลงเชื่อตกเป็นเหยื่อ และเกิดความสูญเสียทั้งเวลาและทรัพย์สิน
ที่ผ่านมา ภัยจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ สร้างความเสียหายมหาศาล ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เปิดสถิติ Financial Fraud หรือการหลอกลวงทางการเงินในปี 2564 เผยแพร่ในรายงาน Bi-monthly PAYMENT INSIGHT ฉบับที่ 14/2565 เรื่อง Financial Fraud : กลโกงทางการเงินใกล้ตัวกว่าที่คิด โดยได้ระบุว่า พบการโทรศัพท์เพื่อหลอกลวงจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ทั้งสิ้น 6.4 ล้านครั้ง โดยในปี 2564 มีมูลค่าความเสียหายที่พิสูจน์แล้วว่าเสียหายจริงกว่า 1,500 ล้านบาท ซึ่งเป็นการหลอกลวงผ่านโทรศัพท์ และอินเทอร์เน็ตมากที่สุด
ปัจจุบัน แก๊งคอลเซ็นเตอร์กลายเป็นภัยใกล้ตัวของทุกคน ซึ่งแม้ว่าหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนจะร่วมมือกันในการสืบค้น ปราบปราม และจับกุมกวาดล้างเหล่ามิจฉาชีพแล้ว การเตือนภัยและให้ความรู้ในการรับมือกับกลุ่มมิจฉาชีพก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยเสริมเกราะป้องกัน เพื่อให้รู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมกลโกง และเอาตัวรอดให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพกลุ่มนี้ได้
เจาะลึกกลโกงแก๊งคอลเซ็นเตอร์
สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้แจ้งเตือนประชาชนให้ระวังกลโกงและรู้ทันวิธีการหลอกลวงของแก็งคอลเซ็นเตอร์ สรุปได้ 8 กลโกง ดังนี้
1. อ้างว่ามีพัสดุจากบริษัทขนส่งข้ามประเทศถูกอายัด แก๊งคอลเซ็นเตอร์อาจโทรหรือใช้ระบบอัตโนมัติแจ้งว่ามีพัสดุจากต่างประเทศที่ส่งผ่าน DHL หรือ FedEx ถูกด่านกรมศุลกากรอายัดไว้เนื่องจากมีสิ่งของผิดกฎหมาย จากนั้นให้ติดต่อกลุ่มมิจฉาชีพที่สวมรอยเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อตรวจสอบบัญชี หรือโอนเงินในบัญชีทั้งหมดมาตรวจสอบ
2. อ้างว่าเป็นข้าราชการ เช่น ศาล อัยการ ตำรวจ กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือกรมสรรพากร และแจ้งว่าเหยื่อมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมร้ายแรง โดยให้โอนเงินในบัญธนาคารทั้งหมดมาตรวจสอบ
3. อ้างว่าค้างค่าปรับจราจร โดยหลอกให้โอนเงินค่าปรับจราจรมาให้
4. อ้างว่าค้างชำระบัตรเครดิตเป็นเงินจำนวนมาก หากไม่รีบชำระจะถูกฟ้องร้องดำเนินคดี เพื่อหลอกให้โอนเงินชำระค่าบัตรเครดิตให้มิจฉาชีพทันที
5. อ้างว่าทำความผิดโดยการเปิดบัญชีม้า โดยแจ้งว่าเหยื่อได้เปิดบัญชีธนาคารให้คนร้ายทำความผิด โดยต้องโอนเงินในบัญชีธนาคารทั้งหมดมาตรวจสอบ
6. อ้างว่าการเคลมประกันโควิด-19 เป็นเท็จ และมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมร้ายแรง จากนั้นก็แจ้งให้เหยื่อโอนเงินบัญชีธนาคารทั้งหมดมาตรวจสอบ
7. อ้างเป็น กสทช. หลอกว่าหมายเลขโทรศัพท์มือถือของเหยื่อค้างชำระค่าบริการ หรือมีผู้ร้องเรียนเป็นจำนวนมาก จะถูกปิดหมายเลขภายใน 2 ชั่วโมง ให้ติดต่อกลุ่มมิจฉาชีพที่สวมรอยเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ และโอนเงินในบัญชีทั้งหมดมาตรวจสอบ
8. อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือหน่วยงานทางการแพทย์ เพื่อหลอกขอข้อมูลส่วนบุคคล จากนั้นก็หลอกให้โอนเงินค่ารักษาพยาบาล
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเบอร์ต้องสงสัยจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์
สิ่งแรกที่ทุกคนสังเกตได้คือ เบอร์โทรศัพท์หลอกลวงจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ จะเป็นหมายเลขแปลกๆ ซึ่งปกติแล้วเวลามีคนโทรเข้ามาเบอร์จะปรากฏเป็นเลข 10 หลัก แต่ถ้าหากเห็นเบอร์ยาวๆ แล้วยังมีเครื่องหมายบวก (+) อยู่ข้างหน้าอีก ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่า อาจจะเป็นเบอร์โทรหลอกลวงจากมิจฉาชีพได้
ส่วนใหญ่แล้วเป็นเบอร์ที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้โทรเข้ามาจะเป็นเบอร์ที่เราไม่เคยติดต่อ หรือเป็นเบอร์โทรที่เราไม่ได้บันทึกไว้ในเครื่องโทรศัพท์ โดยมักจะเป็นเบอร์จากต่างจังหวัดที่ไม่คุ้นเคย หรือโทรมาจากต่างประเทศ ซึ่งมักจะขึ้นต้นด้วย +830 หรือ +870
นอกจากนี้ ยังมีเบอร์ที่ขึ้นต้นด้วย +697 และ +698 ซึ่งเป็นความร่วมมือของกสทช.และผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ใส่เครื่องหมายนำหน้าเบอร์โทรศัพท์ เพื่อให้ทราบว่าเป็นการโทรจากต่างประเทศ หากไม่มีคนรู้จักที่จะติดต่อจากต่างประเทศ ควรระมัดระวัง อาจเป็นการโทรจากมิจฉาชีพ
วิธีรับมือกับแก็งคอลเซ็นเตอร์
สำหรับใครที่เผลอรับสายเบอร์แปลก ๆ และคิดว่าอาจเป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เพื่อความปลอดภัย สามารถทำตามวิธีการดังต่อไปนี้
- ไม่เชื่อ : ไม่เชื่อว่าภาครัฐหรือเอกชนมีนโยบายสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลทางโทรศัพท์ ตั้งสติเมื่อรับสายทุกครั้ง
- ไม่บอก : ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลทางการเงินใดๆ รีบตัดสายและวางสายโดยเร็วที่สุด
- ไม่ทำตาม : ไม่ทำตามที่แก็งคอลเซ็นเตอร์แนะนำ ไม่ว่าจะขั้นตอนใดๆ เด็ดขาด หลังจากวางสาย ให้ตรวจสอบข้อมูลกับหน่วยงานหรือสถาบันที่ถูกแอบอ้างทันที
ทรูมูฟ เอช ห่วงใย ให้คุณปลอดภัยจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์และมิจฉาชีพทุกรูปแบบ
ทรูมูฟ เอช ตระหนักถึงภัยจากคอลเซ็นเตอร์และมิจฉาชีพที่มาพร้อมกับกลโกงหลากหลายรูปแบบ ด้วยความห่วงใยลูกค้าทุกคน ทรูมูฟ เอช จึงมีแนวทางแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วนและครบวงจร เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้ลูกค้าเป็นสำคัญ
โดยทรูมูฟ เอช เพิ่มช่องทางพิเศษดูแลลูกค้าที่พบปัญหาโดยเฉพาะ หากลูกค้าได้รับเบอร์โทรต้องสงสัย สามารถติดต่อ Hotline 9777 (โทรฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย) ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนเบอร์โทรต้องสงสัย และ SMS มิจฉาชีพ เพื่อดำเนินการบล็อกเบอร์โทร หรือ SMS ทันทีที่ตรวจพบว่าเป็นของมิจฉาชีพจริง พร้อมประสานหน่วยงานภาครัฐเพื่อสืบค้นและดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
นอกจากนี้ ทรูยังสนับสนุนการเสริมเกาะป้องกันภัยไซเบอร์ต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และอัปเดตภัยไซเบอร์รูปแบบใหม่ ๆ ผ่านเว็บไซต์ True Cyber Care ให้ลูกค้าทรูและผู้บริโภครู้ทันก่อนหลงเชื่อตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ คลิกดูข้อมูลได้ที่นี่
อ้างอิง
ที่ผ่านมาเราได้ยินข่าวเกี่ยวกับมัลแวร์ (Malware) มาบ่อยครั้ง แต่รู้ไหมว่าคำที่คุ้นหูนี้ อาจเป็นภัยใกล้ตัวกว่าที่คิด!
ในยุคที่ทุกคนต่างใช้เทคโนโลยีสุดทันสมัย และใช้ชีวิตอยู่กับกิจกรรมออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ ภัยจากมัลแวร์เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา มัลแวร์ที่ว่านี้คือ ซอฟต์แวร์หรือโค้ดที่มิจฉาชีพหรือแฮ็กเกอร์สร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์ร้ายและเป็นอันตรายในการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของทุกคน
รู้ทันมัลแวร์ ภัยที่แฝงมากับไลฟ์สไตล์ยุคใหม่
แม้ว่ากลไกของมัลแวร์ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะมีการหลอกลวงในลักษณะนี้มานานแล้ว แต่ในปัจจุบันมิจฉาชีพปรับเปลี่ยนกลโกงให้แนบเนียนมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างของภัยมัลแวร์ที่เห็นได้ชัดจากสถานการณ์ในเวลานี้คือ มิจฉาชีพหรือแฮ็กเกอร์จะส่ง SMS มาหลอกลวงผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ ด้วยข้อความดูน่าเชื่อถือ เช่น ข้อความแจ้งเตือนจากธนาคาร เพื่อชักจูงให้กดลิงก์ไปยังเว็บไซต์ปลอม หรือหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอม
หากผู้ใช้เผลอกดลิงค์ที่ได้มาก็จะเข้าสู่เว็บไซต์ปลอม หรือติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมไว้กับเครื่องโทรศัพท์ จากนั้นก็มีข้อความหลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) ข้อมูลเหล่านี้มิจฉาชีพจะใช้แฮ็กเข้าระบบเพื่อขอสิทธิ์ในการเข้าถึงอุปกรณ์ เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งเท่ากับเป็นการอนุญาตให้มัลแวร์เข้ามาแฝงในอุปกรณ์ต่างๆ แล้ว
จากนั้นแฮ็กเกอร์ก็เข้าจัดการการสมัครบริการต่างๆ ที่คิดค่าบริการเหมือนกับเจ้าของเครื่องทำรายการเอง โดยที่เจ้าของเครื่องไม่รู้ตัวเลย เช่น การสมัครรับ SMS เป็นต้น ส่วนข้อมูลส่วนตัวของเจ้าของอุปกรณ์จะถูกส่งกลับไปหาแฮ็กเกอร์เช่นกัน โดยแฮ็กเกอร์จะใช้ข้อมูลหรือโค้ดที่ได้มาล้วงข้อมูล ควบคุม และติดตามการใช้งาน รวมไปถึงสามารถทำลายข้อมูล พร้อมนำข้อมูลต่างๆ ไปใช้ในทางไม่ดีโดยที่เจ้าของเครื่องไม่รู้ตัว ทั้งยังส่งข้อความกลับไปหลอกลวงต่อเรื่อยๆ อีกด้วย
เคล็ดลับจัดการภัยมัลแวร์ด้วยตัวเอง
• ควรอัปเกรดระบบปฏิบัติการของโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ให้เป็นปัจจุบันเสมอ
แต่ละวิธีสามารถช่วยปกป้องอุปกรณ์ของเราจากภัยมัลแวร์ได้ แต่สิ่งสำคัญคือการติดตามอัปเดตข่าวสาร และระวังตัวก่อนทำกิจกรรมหรือธุรกรรมทางออนไลน์ให้มากขึ้น
ทรูใส่ใจทุกปัญหา มุ่งมั่นดูแลลูกค้าให้ปลอดภัยจากทุกภัยไซเบอร์
- กด *137 แล้วกดโทรออก กด 1 ตรวจสอบ SMS ที่ถูกคิดค่าบริการ กด 2 ยกเลิก SMS ข้อความประชาสัมพันธ์ หรือ กด 3 ยกเลิก SMS ที่ถูกคิดค่าบริการ โดยลูกค้าทรูมูฟ เอช โทรฟรีตลอด 24 ชั่วโมง
- จัดการผ่านแอปพลิเคชัน True iService ได้ทันที