Hero-Deskrop-3840x1236
Hero-Mobile-780x1040
 

ทรู ดีแทค ตอบรับมาตรการป้องกันอาชญากรรมออนไลน์

App True True cybersafe

พร้อมสนับสนุนมาตรการภาครัฐ ยกระดับความปลอดภัยการใช้โมบายแบงก์กิ้ง ยืนยันอำนวยความสะดวกลูกค้าให้ใช้งานโมบายแบงก์กิ้งได้ต่อเนื่อง ตามนโยบายรัฐบาล

กำหนดให้ชื่อผู้ใช้งานโมบายแบงก์กิ้ง ต้องตรงกับชื่อเจ้าของซิมหมายเลขโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นแนวทางในการยกระดับความปลอดภัยการใช้งานโมบายแบงก์กิ้ง สกัดกั้นบัญชีม้า ที่เป็นเส้นทางก่ออาชญากรรมของมิจฉาชีพ ซึ่งล่าสุด กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)ธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติที่ประชาชนต้องดำเนินการ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2568

ลูกค้าทรู และ ดีแทค สามารถตรวจสอบตนเองได้ที่

  1. ข้อความแจ้งเตือนในแอปธนาคาร โดยตรวจสอบที่กระดิ่งแจ้งเตือนหรือกล่องข้อความ หากไม่ได้รับการแจ้งเตือน ไม่ต้องดำเนินการใด ๆ
  2. สำหรับท่านที่ได้รับการแจ้งเตือนข้อความจากทางธนาคารแล้วท่านมิได้ดำเนินการใดๆ ท่านสามารถใช้บริการทรู/ดีแทคได้ตามปกติค่ะ แต่จะไม่สามารถใช้บริการ mobile banking ได้เท่านั้นแต่ท่านยังสามารถใช้บัญชีเบิกถอนเงินที่ธนาคารรวมถึงใช้บัตร ATM ได้ตามปกติ ทั้งนี้วันระงับใช้บริการ mobile banking ขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคารเป็นผู้กำหนดโดยเริ่มตั้งแต่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป

    ข้อแนะนำหากท่านถูกระงับการใช้บริการ mobile banking แล้ว ท่านสามารถติดต่อธนาคารเพื่อขอปลดการระงับ โดยดำเนินการ ดังนี้

    1. เบอร์ที่ผูกกับ mobile banking ไว้ยังใช้งานอยู่ ดำเนินการได้ 2 แบบ
      1. ติดต่อธนาคารเพื่อขอยกเว้น
        นำหลักฐานที่แสดงความเกี่ยวข้องกับเจ้าของหมายเลขโทรศัพท์มือถือ และ ใบเสร็จรับเงินค่าบริการมือถือ (แสดงความเป็นผู้ใช้งาน)
        • พ่อ,แม่,พี่,น้อง,ปู่,ย่า,ตา,ยาย ใช้ทะเบียนบ้าน/ บุตร ใช้สูติบัตร /หรือคู่สมรสที่จดทะเบียน ทะเบียนสมรส
        • นิติบุคคล บริษัทเอกชน หน่วยงานรัฐใช้เอกสารหนังสือรับรองจากบริษัท ระบุชื่อพนักงาน เบอร์โทรศัพท์
        • ผู้ที่ต้องได้รับการดูแลตามกฎหมาย หรือ ผู้พิการ ใช้เอกสารตามคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้ดูแล / บัตรผู้พิการ หรือเอกสารที่หน่วยงานราชการออกให้
      2. ติดต่อศูนย์บริการ

        แนะนำให้เปิดเบอร์ใหม่ที่ True/dtac Shopหรือ เปลี่ยนชื่อเจ้าของซิม (Change Owner) ให้ตรงกับข้อมูลที่ผูกกับบริการ mobile banking จากนั้นนำเอกสารรับรองการใช้สิทธิ์ในการใช้บริการที่มีอายุไม่เกิน 1 เดือน เช่นใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือรับรองสิทธิ์ในการใช้บริการ ติดต่อธนาคารเพื่อปลดการระงับบริการ Mobile Banking

        ทั้งนี้การเปลี่ยนชื่อเจ้าของซิม

        สำหรับลูกค้าระบบรายเดือน ติดต่อดำเนินการได้ที่ ทรู/ดีแทคช้อปทุกสาขา

        สำหรับลูกค้าระบบเติมเงิน สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเองที่ True Application (เตรียมบัตรประชาชน และ เสียบซิมการ์ดเพื่อรับ OTP)

        • โอนเปลี่ยนเจ้าของเลือกเมนู เปลี่ยนชื่อผู้จดทะเบียนซิมเติมเงิน
          ลูกค้าทรู : https://s.true.th/3aCz/i6exnm8k สำหรับคนไทย
          **ชาวต่างชาติดำเนินการได้ที่ทรูช็อป ดีแทคช็อป หรือทรูพาร์เนอร์**
          ลูกค้าดีแทค : https://s.true.th/3aCz/1xdoy55r (รองรับทั้งคนไทยและต่างชาติ)
        • ขอหนังสือรับรองสิทธิ์ในการใช้บริการ เลือกเมนู หนังสือรับรองสิทธิ์ในการใช้บริการ
          ระบบรายเดือนและเติมเงินขอหนังสือรับรองสิทธิ์ในการใช้บริการ ด้วยตนเอง กดที่นี่

        ขั้นตอนการอัปเดต ข้อมูลการลงทะเบียนของตัวท่านเองที่ ทรู แอป

        ขั้นตอนการขอหนังสือยืนยันการใช้สิทธิ์การใช้บริการด้วยตนเองที่ทรู แอป

        1. Download True App ที่ Play Store / App Store (version 10.5.1 ขึ้นไป)
        2. ใช้หมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ต้องการใช้งาน เพื่อ log in เพื่อ รับ OTP
        3. เข้าเมนูหลัก (หรือจากหน้าจอด้านขวา จะมีสัญลักษญ์ 3 ขีด กดเพื่อเข้าเมนูหลัก)
        4. เข้าเมนู “หนังสือรับรองสิทธิ์ในการใช้บริการ”
        5. ภาษาไทย/อังกฤษ ขึ้นอยู่กับ profile การใช้งานของลูกค้า

        หมายเหตุ

        • โดยการแสดงผลหนังสือยินยอมการใช้บริการจะแสดงตามหมายเลขที่ใช้งาน True APP อยู่ในขณะนั้นเท่านั้น หากต้องการขอหนังสือของหมายเลขใดจะต้องทำการเปลี่ยนหมายเลข (switch number) หรือ login เข้าสู่ระบบด้วยเบอร์ที่ต้องการเอกสาร
        • หากข้อมูลที่แสดงในหนังสือการใช้สิทธิไม่ตรงกับผู้ใช้งาน จะไม่สามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานที่ธนาคาร

        หนังสือรับรองสิทธิ์ในการใช้บริการ

  3. กดตรวจสอบข้อมูลลงทะเบียนหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ท่านใช้งานอยู่ตรงกับข้อมูลที่ผูกกับบริการโมบาย แบงก์กิ้งหรือไม่

    ลูกค้าทรูและดีแทครายเดือนกด *179*หมายเลขบัตรประชาชน#โทรออก

    ลูกค้าทรูเติมเงินกด *153#โทรออก

    ลูกค้าดีแทคเติมเงินกด *102#โทรออก

คำถามที่พบบ่อย

ถาม 1: ตามที่มีรายงานข่าวแจ้งว่า ชื่อผู้ใช้งานโมบายแบงก์กิ้ง ต้องตรงกับชื่อเจ้าของซิมหมายเลขโทรศัพท์มือถือ มิเช่นนั้นจะไม่สามารถทำธุรกรรมผ่านโมบายแบงก์กิ้งได้ จริงหรือไม่ เพราะเหตุใด?

ตอบ 1: เป็นความจริง โดยมาตรการนี้เป็นแนวทางของกระทรวงดิจิทัลฯ ปปง., กสทช., ธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ที่ต้องการเยกระดับความปลอดภัยการใช้งานโมบายแบงก์กิ้ง สกัดกั้นบัญชีม้าที่เป็นเส้นทางก่ออาชญากรรมของมิจฉาชีพ จึงได้ออกมาตราการที่กำหนดให้ชื่อผู้จดทะเบียนซิมจะต้องตรงกับชื่อเจ้าของบัญชีธนาคารที่ลงทะเบียนสำหรับโมบายแบงก์กิ้ง ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2568 โดยในระหว่างนี้ท่านยังคงสามารถใช้งานได้ตามปกติ และโปรดพิจารณาข้อมูลจากธนาคารที่ท่านใช้บริการเพื่อดำเนินการต่อไป

ถาม 2 : จากการแถลงข่าวล่าสุด (31 มกราคม 2568 ) ระบุว่าในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2568 ธนาคารจะเป็นผู้ส่งข้อความแจ้งเตือนลูกค้า กรณีที่ข้อมูลชื่อผู้ใช้งานโมบายแบงก์กิ้ง ไม่ตรงกับชื่อเจ้าของซิมหมายเลขโทรศัพท์มือถือนั้น หากได้รับการแจ้งเตือน /หรือยังไม่ได้รับการแจ้งเตือน จะต้องดำเนินการอย่างไร?

ตอบ 2: กรณีที่ลูกค้าได้รับการแจ้งเตือนจากธนาคาร – ให้ทำตามคำแนะนำในข้อความแจ้งเตือนจากธนาคาร แต่หากลูกค้าไม่ได้รับการแจ้งเตือน – ลูกค้าไม่ต้องดำเนินการอะไร สามารถใช้งานโมบายแบงก์กิ้งได้ตามปกติ

ถาม 3: เหตุใดชื่อลงทะเบียนซิมต้องตรงกับบัญชีบริการโมบายแบงก์กิ้ง?

ตอบ 3 : เป็นมาตรการของภาครัฐ เพื่อกำหนดมาตรฐานและป้องกันภัยจากมิจฉาชีพ

ถาม 4: หากไม่แก้ไขชื่อให้ตรงกันภายในเวลาที่กำหนด จะเกิดอะไรขึ้น?

ตอบ 4: ลูกค้าจะยังสามารถใช้บริการโทรศัพท์ได้ตามปกติตลอดไป แต่ภายหลังจากวันที่ 1 พฤษภาคม 2568 จะไม่สามารถทำธุรกรรมผ่านโมบายแบงก์กิ้งได้จนกว่าจะแก้ไขข้อมูลกับธนาคาร ภายในวันที่ 30 เมษายน 2568

ทั้งนี้ หากลูกค้ามีเหตุจำเป็นไม่สามารถแก้ไขชื่อจดทะเบียนซิมได้ สามารถติดต่อธนาคารที่ใช้งานโมบายแบงก์กิ้งเพื่อขอพิจารณาผ่อนปรน โดยมีการพิจารณายกเว้นกลุ่มบุคคลดังต่อไปนี้

  1. เบอร์มือถือที่จดทะเบียนในชื่อหน่วยงานราชการ หรือองค์กร
  2. ลูกค้าที่มีความจำเป็นหรือข้อจำกัดเฉพาะ เช่น ไม่สามารถเปลี่ยนเบอร์มือถือได้ เนื่องจากข้อจำกัดทางกฏหมาย
  3. เป็นคนในครอบครัวเดียวกัน
  4. เป็นนิติบุคคล เช่น เปิดเบอร์ให้พนักงานในสังกัด
  5. เป็นผู้อนุบาลบุคคลไร้ความสามารถตามคำสั่งศาล

ถาม 5: ถ้าลูก (หรือคนในครอบครัว) เป็นผู้ใช้งานมือถือและโมบายล์แบงกิ้ง แต่ซิมจดทะเบียนเป็นชื่อแม่ (หรือคนในครอบครัว) จะต้องดำเนินการอย่างไร?

ตอบ 5: ในกรณีที่ระบุได้ว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างเจ้าของเบอร์โทรศัพท์มือถือและชื่อเจ้าของบัญชีธนาคารที่ใช้งานโมบายแบงก์กิ้ง ลูกค้าสามารถดำเนินการติดต่อธนาคารเจ้าของบัญชีเพื่อยื่นหลักฐานเอกสารตามที่ธนาคารกำหนด หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ธนาคารเจ้าของบัญชี

ถาม 6: หากซิมที่ใช้งานจดทะเบียนเป็นชื่อบริษัท จะต้องดำเนินการอย่างไร?

ตอบ 6: หากสามารถระบุได้ว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างลูกค้าผู้ใช้งานซิมที่มีโมบายล์แบงก์กิ้ง กับชื่อผู้จดทะเบียนซิมที่เป็นองค์กร จะสามารถยกเว้นได้ โดยลูกค้าสามารถดำเนินการติดต่อธนาคารเจ้าของบัญชีเพื่อยื่นหลักฐานเอกสารตามที่ธนาคารกำหนด

ถาม 7: เอกสารอะไรบ้างที่ต้องเตรียมไปติดต่อธนาคาร?

ตอบ 7: ลูกค้าสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเอกสารได้โดยตรงที่ธนาคารเจ้าของบัญชี

ถาม 8: ต้องทำภายในเมื่อไหร่ มีกำหนดหรือไม่?

ตอบ 8: ตามมาตรการของปปง. และธนาคาร ได้กำหนดให้ดำเนินการภายในวันที่ 30 เมษายน 2568

ถาม 9: หากต้องการเปลี่ยนชื่อเจ้าของซิมมือถือให้ตรงกับชื่อเจ้าของบัญชีโมบายแบงก์กิ้ง ต้องดำเนินการอย่างไร?

ตอบ 9: ผู้จดทะเบียนเดิมและใหม่ สามารถดำเนินการเปลี่ยนชื่อผู้ครอบครองซิมมือถือได้ที่ทรูช้อป ดีแทคช้อป พร้อมบัตรประชาชนตัวจริง

ถาม 10: หากตัดสินใจจะเปลี่ยนชื่อเจ้าของซิมมือถือใหม่ รายการส่งเสริมการขาย หรือสิทธิพิเศษต่างๆ จะหายไปหรือต้องเริ่มต้นใหม่หรือไม่ อย่างไร?

ตอบ 10: หากจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนชื่อเจ้าของซิมหรือผู้ครอบครองเลขหมาย การดำเนินการจะเหมือนการยืนยันการครอบครองโดยบุคคลใหม่และเริ่มสัญญาใหม่ อายุการใช้งานสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ได้รับอยู่เดิมจะสิ้นสุดลง เช่น สิทธิประโยชน์ของบริการโทรคมนาคม สิทธิประโยชน์อื่นๆ เช่น ทรูการ์ด ทรูยู หรือดีแทครีวอร์ด

ถาม 11: กรณีที่ไม่ดําเนินการให้ถูกต้องและโดนระงับการใช้งาน Mobile Banking ต้องทําอย่างไร ติดต่อที่ไหน

ตอบ 11 : เนื่องจากเป็นบริการของธนาคาร แนะนำสอบถามจากธนาคารโดยตรง หรือลองตรวจสอบจาก app ธนาคารว่ามีแจ้งเตือนการระงับใช้บริการ Mobile Banking เนื่องจากข้อมูลลงทะเบียนไม่ถูกต้องหรือไม่

กรณีที่ระงับการใช้บริการแล้ว ลูกค้าสามารถติดต่อธนาคารเพื่อขอปลดการระงับ โดยดำเนินการ ดังนี้

  1. โอนเปลี่ยนชื่อเจ้าของเบอร์มือถือให้เป็นของตนเอง หรือหากใช้เบอร์มือถือใหม่ ต้องลงทะเบียนด้วยชื่อตนเองให้เรียบร้อย
  2. ติดต่อธนาคารสาขาที่สะดวกเพื่อแจ้งขอปลดการระงับใช้งาน Mobile Banking เพื่อ KYC และ Scan ใบหน้า
  3. เตรียมเอกสารเพื่อยืนยันกับธนาคารตามตารางข้อ 5
  4. หากลูกค้าต้องการใช้สิทธิยกเว้น สามารถติดต่อธนาคารโดยตรงพร้อมเอกสารประกอบตาม ที่กําหนด
  5. ช่องทางการโอนเปลี่ยนชื่อเจ้าของ& เอกสาร update ข้อมูล
  รายเดือน เติมเงิน
คนไทย ต่างชาติ คนไทย ต่างชาติ
ช่องทางการโอนเปลี่ยนชื่อเจ้าของ True/dtac Shop True/dtac Shop True App
True
https://s.true.th/3aCz/i6exnm8k
dtac
https://s.true.th/3aCz/1xdoy55r
หมายเหตุ :
ลูกค้าทรูและดีแทคสามารถแก้ไข/อัปเดทข้อมูลทรูช้อป ทรูพาร์ทเนอร์ 
True
ที่ True Shop/ทรูพาร์ทเนอร์

True App สำหรับชาวต่างชาติ
dtac
https://s.true.th/3aCz/1xdoy55r
หมายเหตุ :
ลูกค้าทรูและดีแทคสามารถแก้ไข/อัปเดทข้อมูลทรูช้อป ทรูพาร์ทเนอร์ 
เอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อ Update ข้อมูลที่True/dtac Shop 1.บัตรประชาชนตัวจริงของเจ้าของเดิม และเจ้าของใหม่ 1.บัตรประชาชน/passport ตัวจริงของเจ้าของเดิม และเจ้าของใหม่ 1.บัตรประชาชนตัวจริง
2. SIM Card ตัวจริง
1. Passport ตัวจริง
2. SIM Card ตัวจริง
เอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อยืนยันที่ธนาคาร 1.บัตรประชาชนตัวจริง
2. ใบเสร็จรับเงิน อายุไม่เกิน 1 เดือน (ต้องปริ๊นท์ใส่กระดาษ ทางธนาคารไม่รับเอกสาร digital) หรือ
3. ขอหนังสือยืนยันการใช้สิทธิด้วยตัวเองที่ True App กดที่นี่
1.Passport ตัวจริง
2. ใบเสร็จรับเงิน อายุไม่เกิน 1 เดือน (ต้องปริ๊นท์ใส่กระดาษ ทางธนาคารไม่รับเอกสาร digital) หรือ
3. ขอหนังสือยืนยันการใช้สิทธิด้วยตัวเองที่ True App กดที่นี่
1.บัตรประชาชนตัวจริง
2. ใบเสร็จรับเงิน อายุไม่เกิน 1 เดือน (ต้องปริ๊นท์ใส่กระดาษ ทางธนาคารไม่รับเอกสาร digital) หรือ
3. ขอหนังสือยืนยันการใช้สิทธิด้วยตัวเองที่ True App กดที่นี่
1.Passport ตัวจริง
2. ใบเสร็จรับเงิน อายุไม่เกิน 1 เดือน (ต้องปริ๊นท์ใส่กระดาษ ทางธนาคารไม่รับเอกสาร digital) หรือ
3. ขอหนังสือยืนยันการใช้สิทธิด้วยตัวเองที่ True App กดที่นี่

ถาม 12 : ระยะเวลาในการปลดระงับใช้บริการ Mobile Banking ใช้เวลาเท่าไร

ตอบ 12 : ระยะเวลาในการปลดเป็นไปตามเงื่อนไขของแต่ธนาคาร